งานนิทรรศการ วิถีแห่งศรัทธา จากทัศนศิลป์ญี่ปุ่น (The History of Japanese Arts : Life and Faith)

0
นิทรรศการ วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นิทรรศการ “วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น” (The History of Japanese Arts : Life and Faith) โดยสมาคมอิโคโมสไทย นิทรรศการที่รวมงานศิลปกรรมของญี่ปุ่นในยุคสมัยต่างๆ ซึ่งงานนิทรรศการครั้งนี้มีการนำเสนองานนิทรรศการ ที่แบ่งเรื่องราวต่างยุคสมัยของญี่ปุ่น ดังนี้

   – งานในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์
   – งานทางด้านพุทธศิลป์
   – งานศิลปะชั้นสูง และงานศิลปะนักรบ(ซามูไร)
   – งานศิลปะเซน และพิธีการชงชา
   – งานศิลปะสมัยเอโดะ
                    ภายในงานนิทรรศการรวมงานศิลปกรรมกว่า 130 ชิ้นมาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมีการบรรยายเบื้องหลังการจัดนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบพื้นจัดแสดง ประวัติศาสตร์ศิลปกรรม วิธีอนุรักษ์และการรักษาโบราณวัตถุ และเรื่องการใช้อาคารโบราณสถาน และการจัดเตรียมสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ซึ่งการบรรยายในครั้งนี้ได้พูดถึงการอนุรักษ์โบราณสถานตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยคุณสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
                    คุณสรรินทร์เล่าว่า เรื่องการอนุรักษ์โบราณวัตถุและงานศิลปกรรมญี่ปุ่นนั้น เป็นเรื่องที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก เพราะว่างานศิลปะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้วัสดุผ้า กระดาษ และไม้ มีความเสื่อมโทรมง่าย  ฉะนั้นการจัดแสดงผลงานได้มีการติดตั้ง Datalogger ภายในตู้จัดแสดงและภายในอาคาร รวมไปถึงเรื่องการควบคุมความชื้น เพื่อไม่ให้ผลงานมีความเสียหายน้อยที่สุด ทางประเทศไทยและญี่ปุ่นได้วางแผนการจัดเตรียมงานและวางแผนเรื่องการดูแลรักษาวัตถุเป็นระยะ 1 ปีเต็ม
บรรยากาศภายในงานนิทรรศการ โซนงานศิลปะพุทธศิลป์
ตุ๊กตา Haniwa ศิลปกรรมญี่ปุ่นในยุคสมัยยาโออิ
                    เรื่องราวของนิทรรศการและประวัติศาสตร์ บรรยายโดย คุณ Okimatsu Kenjiro ผู้ออกแบบ การจัดแสดงนิทรรศการ เล่าว่า ผลงานศิลปกรรมของญี่ปุ่นมีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องมีการควบคุมความชื้นให้ดี และไม่ให้อุณหภูมิภายในห้องนิทรรศการสูงเกินไป แบ่งพื้นที่นิทรรศการตามยุคสมัยต่างๆของญี่ปุ่น ซึ่งงานในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์จะเป็นวัตถุสำริด มีอายุกว่าพันปี เป็นวัตถุโบราณ อย่างเช่น กริด หรือระฆัง เป็นต้น ส่วนงานทางด้านพุทธศิลป์เป็นงานที่มีการพัฒนา 3 ยุคสมัย คือ ยุคสมัยแรก งานพุทธศิลป์ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีน สมัยราชวงศ์ถัง พระพุทธรูปจึงมีลักษณะอวบอ้วน ยุคสมัยที่สอง พระพุทธรูปมีความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น
                   ตู้จัดแสดงภายในงานแบ่งเป็น 3 ประเภท แบบแรก เป็นแบบตู้ที่ทำจากเหล็กและกระจก แบบที่สอง เป็นแบบไม้ เหล็กและอคิลิก แบบที่ 3 เป็นแบบตู้ไม้ กระจก และผ้า ซึ่งตู้ทั้ง 3 ชนิดนี้จะต้องควบคุมอุณหภูมิประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียล (เกณฑ์ของญี่ปุ่น)
                    ภายในงานนิทรรศการจัดเนื้อหาเรื่องราวตามยุคสมัย จัดวางงานศิลปกรรมเป็นระบบระเบียบ เรียบง่าย สามารถเดินชมและรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และได้รับรู้ว่า คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับศิลปะและให้คุณค่าของงานทางประวัติศาสตร์ทุกชิ้น แม้ว่าญี่ปุ่นจะก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่ญี่ปุ่นยังมีความละเอียดอ่อน และใส่ใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดีในแง่การมองเห็นคุณค่าและศรัทธาในตัวเราเอง (มรดกทางวัฒนธรรม)
บรรยากาศภายในงานนิทรรศการ โซนศิลปะชั้นสูง
ภาพอักษรวิจิตรโจโด รูปแบบงานศิลปะชั้นสูง
บรรยากาศภายในงานนิทรรศการ โซนงานทางด้านพุทธศิลป์
ภาพจิตรกรรมฉากญี่ปุ่น
โบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์
ชุดนักรบ รูปแบบศิลปะชั้นสูง
งานพุทธศิลป์ ในยุคสมัยที่ 2 (แบบญี่ปุ่น)
ตุ๊กตาดินเผา โตกู
หน้ากาก
ภาพจิตรกรรม พระพุทธเจ้าปรินิพาน
ลวดลายของชุดกิโมโน
ลวดลายชุดกิโมโน รูปแบบศิลปะชั้นสูง
กระเป๋าถือของหญิงชั้นสูง
ดาบซามูไร
ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ “16 พระอรหันตร์”
รูปแบบศิลปะการชงชาของญี่ปุ่น
วิดีทัศน์ การแสดงญี่ปุ่น
พื้นที่ทำกิจกรรม Workshop ภาพพิมพ์ญี่ปุ่น กิจกรรมสุดท้ายของนิทรรศการ
ภาพพิมพ์ญี่ปุ่น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here