Milstein Hall at Cornell University  ออกแบบโดยบริษัท OMA


บทความนี้น่าสนใจ ผู้เขียนถือว่าเป็นประโยชน์กับนักเรียนสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับด้านการออกแบบ เป็นบทความจากเว็บไซด์ archdaily เกี่ยวกับหัวข้อ10ประการที่เขาไม่ได้สอนคุณในโรงเรียนสถาปัตยกรรม เป็นบทความโดย Linda Bennet ดีไซน์เนอร์ชาวอังกฤษ เขียนไว้ใน http://www.archi-ninja.com ลองมาดูว่าเธอได้กล่าวอะไรไว้บ้าง (ถ้าผู้เขียนแปลผิดตรงไหนต้องขออภัย)

ช่วงที่ฉันอยู่ในโรงเรียนสถาปัตยกรรมฉันพยายามหาประเด็นอะไรสักอย่างในโรงเรียนสถาปัตยกรรม โดยฉันพยายามศึกษา”ภาษา” ในการออกแบบรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานบริหารจัดการเวลาในสตูดิโอ(ต้องลาพ่อกับแม่ไปชั่วขณะ) และยังมีเรื่องการรับมือกับคำวิจารณ์นั่นอีก แล้วยังมีสุดยอดนักเรียน (Super students) พวกเขาสามารถเขียนแปลน รูปด้าน รูปตัด และวาดภาพทัศนียภาพ (perspective)ได้ดี และยิ่งกว่านั้นพวกเขาสามารถพูดสื่อสารเพื่อขายความคิดของพวกเขาได้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี UTS , ซิดนีย์
ประเทศออสเตรเลีย

                   

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองซิดนีย์


จุดเริ่มต้นของฉันคือช่วงหกปีที่แล้วหลังจากที่ฉันจบการศึกษา แน่นอนมันเป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จ นักเรียนทุกต้องผ่านวิชาประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสถาปัตยกรรม วิชาโครงสร้าง (construction) และวิชาออกแบบ (design) ฉันศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี (UTS) และฉันเป็นนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการออกแบบในปี 2010 และได้ทุนไปศึกษาต่อที่แอลเอ และยังได้รับการเสนอเข้าชิงNSW Architects Medallion ในปี 2011

                  ในวันนี้ฉันจะสะท้อนให้เห็นช่วงเวลาที่ฉันอยู่ในมหาวิทยาลัย(หรือมหาวิทยาลัยของผู้อ่านเอง) ซึ่งฉันถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุดที่ไม่มีในหลักสูตร แต่มันเป็นสิ่งที่ฉันค้นพบในเรื่องของสถาปัตยกรรมจากประสบการณ์ของตัวเอง และสิ่งนี้ทำให้ฉันเติบโตและประสบความสำเร็จ ฉันขอพูดจากนี้


1. Forget about Winning or Losing ลืมเรื่องความชนะหรือความพ่ายแพ้ไปซะ       สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องของทัศนคติ ไม่น่าแปลกใจเลยถ้าอาจารย์ที่สอนคุณมักจะมองหาในสิ่งที่คุณขาด หรือจุดอื่นๆที่คุณไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ ในทางกลับกันถ้าคุณไปเน้นในสิ่งที่คนอื่นเขาทำกัน คนเขาชอบแบบนี้ นั่นแสดงว่าคุณมุ่งเน้นไปที่ค่าของการออกแบบ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณต้องพิจารณากระบวนการเหล่านี้โดยการเปรียบเทียบโดยกำหนดมาตรฐานตัวคุณเองเพื่อเป็นมาตรการของความสำเร็จ สำหรับฉันมันมีค่ามาก มากกว่าความคาดหวังจากคนอื่นที่เขาหวังไว้กับเรา คุณต้องสร้างสรรค์กฏเกณฑ์ของคุณเองเพื่อความสำเร็จ แหล่งข้อมูลที่ดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ลองดูที่ pushpullbar.com แล้วเสนอความคิดของคุณลงไปซึ่งจะเปิดให้ผู้ที่มาอ่านติชมเพื่อเป็นการพัฒนางานของคุณ


2. Your tutor is your client อาจารย์ของคุณคือลูกค้าของคุณนั่นแหละ
        อาจารย์ก็เหมือนลูกค้า อาจารย์ของคุณต้องการเห็นความเข้าใจและความมั่นใจในกระบวนการออกแบบของคุณ คุณต้องสามารถพูดสื่อสารกับอาจารย์ที่สอนคุณให้ท่านพิจารณาแบบของคุณน้อยที่สุด (ดูกฏข้อที่ 4) ให้คุณดูตัวอย่างจากการประกวดแบบแล้วดูทีมที่ชนะหรือนักเรียนที่เก่งที่สุดพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีการพูดสื่อสารที่ดี นอกจากนี้แล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างคือความเป็นมืออาชีพ(professional) อาจารย์จะเป็นทั้งครูและที่ปรึกษางานเพื่อให้คุณเคารพกับช่วงเวลาที่ท่านสละเวลาเพื่อพิจารณาและให้คำแนะนำ หากคุณต้องการความช่วยเหลือพิเศษขอแนะนำไปที่สำนักงานของพวกเขาสิ แล้วพูดคุยในร้านกาแฟ สละเวลาคุยกับอาจารย์(ลูกค้า) โดยทำความเข้าใจความรู้วิธีการและความสนใจสถาปัตยกรรมของท่าน ทางที่ดีที่สุดคุณสามารถวัดตัวเองว่าคุณได้นำความรู้ที่อาจารย์ให้มาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบของคุณมากน้อยแค่ไหน


3. Play Momentum สร้างโมเมนต์ตัม(แรงผลักดัน)
       ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ทางด้านธุรกิจหลายคน(รวมทั้งโดนัลด์ ทรัมป์ด้วย) มักพูดถึงการสร้างและการรักษาโมเมนต์ตัม(แรงผลักดัน) ถ้ามีแรงผลักดันแล้วมันจะเดินต่อไปเรื่อยๆไม่มีอะไรมาหยุดได้ แต่ถ้าไม่มีแรงผลักดันมันยากมากที่จะเริ่มต้นคิดสิ่งใหม่ๆ อาจารย์ในโรงเรียนสถาปัตยกรรมหวังจะเห็นคุณมีพัฒนาการทุกสัปดาห์ และถ้าคุณเริ่มพัฒนาแบบของคุณตั้งแต่วันแรกและไม่หยุดที่จะทำมัน ถ้าทำได้มันยากมากที่จะมีเหตุการณ์ทำก่อนส่งวันหนึ่ง โปรเจคที่ทำได้ดีส่วนใหญ่ไม่ได้คิดคืนนั้นแล้วส่งพรุ่งนี้ คุณต้องสร้างแรงผลักดันเพื่อพัฒนางานของคุณอย่างต่อเนื่อง การอดนอนทำในคืนเดียวไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก มันจะเป็นการทำลายแรงผลักดัน สุดท้ายแบบของคุณจะอยู่ขั้นอันตรายมากกว่าดี ฉะนั้นเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

4. Break the Rules ทำลายกฎ
          มันสำคัญมากถ้าจะคิดออกแบบ อาจารย์ของคุณจะกำหนดโปรแกรมและกำหนดเวลาที่จำกัด เพื่อให้นักเรียนรับมือกับความท้าทายเพื่อแก้ปัญหาและให้พิจารณาความสำคัญของการออกแบบ ซึ่งจะเขียนกฏเป็นข้อสั้นๆ เช่น บ้านต้องมี2ชั้น ต้องsetbackจากถนน 6 เมตร เป็นต้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีทางออกที่ดีกว่านี้หล่ะ Break the Rules หรือต่อรอง(เล่น)กับกฏหมาย ทำไมต้องใช้วิธีนี้น่ะหรือ เพราะความที่ลองอยากรู้อยากเห็นเป็นหนทางไปสู่การค้นพบอะไรบางอย่าง ในทางกลับกันจะนำไปสู่การตั้งคำถาม เช่น ทำไมบ้านต้อง 2 ชั้นด้วยหล่ะ? เป็นต้น ส่วนคำตอบไม่จำเป็นต้องมีเพียงคำตอบเดียว นักเรียนที่ทำวิธีนี้จะทำให้พัฒนาไปได้ไกลมากกว่าคนที่ทำตามกฏเป๊ะๆ ทำให้รู้จักการเปรียบเทียบ และนั่นทำให้คุณประสบความสำเร็จกว่าเพื่อนๆร่วมชั้น และเป็นการเพิ่มวงสนทนา ซึ่งการพูดคุยเป็นการเรียนรู้ที่ดี

Bernard Tschumi สถาปนิกชาวฝรั่งเศส
ที่ใช้กฏ Break the Rules

             

Arakawa and Gins ที่ทำลายกฏข้อบังคับต่างๆ

        
สถาปนิกหลายคนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน(ตัวอย่างBernard Tschumi) ล้วนแล้วทำลายกฎและต่อรองกับกฏหมายในการสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหาการออกแบบและทำให้ดียิ่งขึ้น

5. Have broad influences and mentors ต้องมีอิทธิพลและที่ปรึกษา

บ้านกระดาษออกแบบโดย Shigeru Ban ที่เรียนรู้จากศาสตร์นอกเหนือสถาปัตยกรรม

         เมื่อคุณศึกษาสถาปัตยกรรมมันเป็นเรื่องง่ายมากในเรื่องการมีอิทธิพล คุณจะแยกได้ทั้งอิทธิพลจากอาจารย์ของคุณ กับผู้คนที่พบเจอ กับคนที่ทำงานโดยตรงทางด้านอุตสาหกรรม คุณต้องสร้างเครือข่ายไว้ คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้คำแนะนำคุณ ประเด็นนี้ฉันได้เรียนรู้จากผู้คนที่มีมุมมองที่แตกต่างกัน และพิจารณาความคิดเหล่านี้ให้กลับเป็นสถาปัตยกรรม เป็นการเพิ่มมุมมองสิ่งต่างๆกว้างขึ้น
           ฉันมักจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการดีไซน์ในหัวข้อต่างๆอย่างเช่น รัฐบาลกับสถาปัตยกรรม หรือสถาปัตยกรรมในสังคมการเมือง นอกจากนี้ยังเรียนรู้ด้านสถาปัตยกรรมได้จากศาสตร์มนุษย์วิทยา ชีววิทยา หรือเซรามิก อย่างเช่น คุณสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ได้จากธรรมชาติเพื่อสถาปัตยกรรม(ดูงานของ Shigeru Ban) หรือที่ดีกว่านี้คือ การได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยาศาสตร์หรือแฟนตาซี

6. Have cause and conviction ต้องมีเหตุผลและความเชื่อมั่น

Louis Sullivan

            
          ถ้าเราหลงใหลกับอะไรบางอย่าง มันเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คุณผ่านช่วงชีวิตในมหาวิทยาลัยและอาชีพของคุณ สถาปนิกเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลและความเชื่อมั่นที่เต็มเปี่ยม พวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่ได้อยู่เบื้องหน้าของรถยนต์ แต่อยู่เบื้องหลังของการขับเคลื่อนของล้อรถยนต์ ในช่วงจุดๆหนึ่งของการเป็นนักเรียนสถาปัตยกรรม พวกเขาต้องย่างก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อค้นหาตัวเองว่าคุณรักในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือไม่ เมื่อค้นพบแล้วคุณจะประเมินตนเองอีกครั้ง และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาและจะไม่หยุดที่จะทำมัน (ลองดูบทความของ Louis Sullivan เรื่อง “May Not Architecture Again Become a Living Art?”) คุณจะไม่รู้สึกว่าคุณกำลังทำงานเพราะจำเป็นต้องทำ แต่คุณทำเพราะคุณมีทัศนคติที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจ

7. Up-Skill ฝึกทักษะ
          

ผลงานของการออกแบบของ  Bjarke Ingels

             เครื่องมือ เทคนิค และวิธีการพูดสื่อสารของคุณมีส่วนสำคัญมากถึงความสามารถในการสื่อสารงานสถาปัตยกรรม คุณต้องฝึกพัฒนาให้มากไม่ว่าการพูดสื่อสารหรือการเขียน โดยฝึกวิธีการเล่าของคุณให้กระชับได้ใจความ ลองดูงานประกวดแบบของ Bjarke Ingels (สถาปนิกชาวเดนมารก์) ดูวิธีการสื่อสารกระบวนการความคิดของเขาว่าเขาใช้วิธีการใดถึงชนะการประกวด เขาให้สัมภาษณ์กับหนังสือ the New Yorkerว่า “การสื่อสารถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากถือเป็นค้อนและสิ่วของคุณเลยก็ว่าได้ สิ่งที่ง่ายมากๆในการเรียนรู้คือ ค้นหาใน Google, การใช้โปรแกรมCADช่วยในการสื่อสาร ตัดโมเดลด้วยเลเซอร์ช่วยประหยัดเวลาเพิ่มขึ้น” 


8. Build meaningful relationships สร้างความสัมพันธ์
               

Herzog & de Meuron สองสถาปนิกชาวสวิซเซอร์แลนด์


              ความสัมพันธ์ที่คุณสร้างทั้งนอกและในโรงเรียนของคุณเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมที่ประสบความสำเร็จมากๆส่วนใหญ่เกิดจากความร่วมมือของคนหลายคนที่เคยเจอกันที่โรงเรียน (ลองดูสถาปนิกอย่าง Hurzog & de Meuron) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีย่อมเป็นส่งผลดีในอนาคต การสร้างเครือข่าย การสนทนากับผู้คนจำนวนมากในหลากหลายอุตสาหกรรม เป็นการสร้างโอกาสให้คุณเติบโตในอาชีพและมิตรภาพ

9. Learn projects management เรียนรู้ในการบริหารโครงการ

กฏ 10 ข้อของพาร์กินสัน ที่มีคำกล่าวว่า
“คนที่ยุ่งที่สุดคือคนที่มีเวลาเหลือ”

ในฐานะที่เป็นนักเรียนสถาปัตยกรรมสิ่งที่คุณต้องเจอเสมอคือ การบริหารจัดการโครงการ และเป็นเรื่องปกติของการเป็นสถาปนิกที่จะต้องจัดการบริหารงานให้ดี ฉันคิดว่าศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมเป็นกระบวนการเชิงปริมาณและคุณภาพ ฉันไม่เคยมีความรู้สึกว่างานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้นจะสมบูรณ์แบบไปซะหมด และเช่นเดียวกับสถาปนิกในทุกๆโครงการที่มีความคาดหวังว่าพวกเขาทำสิ่งที่แตกต่างกันออกไป ลองดูกฏของ Parkinsonสิ เป็นกฎที่ทำให้คุณทำงานสำเร็จ คุณสามารถนำไปใช้ได้กับเวลาที่ใช้เวลาจำกัด หรือดูตัวอย่างกฏของ  Tim Ferriss ที่ว่า The Four Hour Work week.
การทำความเข้าใจและเรียงลำดับความสำคัญของงานจะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดการเวลาได้เหมาะสม ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดไม่ว่าจะเรื่องใดๆก็ตามเพื่อเกิดผลประโยชน์สูงสุด

10. Don’t expect the outcome อย่าไปคาดหวังกับผลลัพธ์ให้มากนัก
นักเรียนส่วนใหญ่มักจะบีบข้อจำกัดของโครงการตัวเองโดยการคาดหวังในเรื่องการดีไซน์มากเกินไปในช่วงที่เริ่มต้นทำกระบวนการ (process) ถ้าคุณมัวแต่คาดหวังมากไปคุณจะปิดกั้นตัวเองในการค้นพบอะไรใหม่ๆในสิ่งที่คุณไม่ได้คาดคิด(เรียนรู้จากข้อผิดพลาด) ทางที่ดีให้คุณทำตามกระบวนการไปทีละขั้นให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณลองใช้ความพยามซักนิดที่จะค้นพบ มองปัญหาว่าคืออะไร จะทำให้คุณเริ่มเข้าใจงานมากขึ้น เกิดความคิดสัญชาติญาณ และเกิดความคิดแสดงออกของแต่ละบุคคล ฉันกล้าบอกคุณได้เลยวิธีนี้จะทำให้คุณทำงานได้ดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ
อย่างไรก็ดีคุณต้องหาวิธีของคุณเอง ซึ่งไม่มีใครสามารถสอนหรือหาคำตอบให้คุณได้ คุณจะต้องหามันให้เจอและสร้างสรรค์มันขึ้นมา มีคำพูดที่ว่า  ‘A lot of people never use their initiative because no one told them to’ Banksy. คนส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ความคิดริเริ่ม พราะไม่มีใครบอกพวกเขา ดั่งที่ฉันบอกไว้ข้อแรกแล้ว มันไม่มีคำว่าชนะหรือแพ้ สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ทีี่น่าสนใจ มันสร้างความประหลาดใจได้เสมอ

ฉันหวังว่านักเรียนสถาปัตยกรรมหรือใครที่วางแผนจะเข้าเรียนในคณะสถาปัตย์ได้อ่านคำแนะนำของฉัน ถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปที่ [email protected].

สุดท้ายจากบทความของ Linda Bennett ข้างต้นจะเห็นว่า สถาปัตยกรรม ไม่มีคำว่าชนะหรือแพ้ ไม่มีถูกหรือผิดมันเป็นเรื่องของทัศนคติ สิ่งนี้เราว่ามีประโยชน์แก่นักศึกษาสถาปัตย์ทั่วโลกหรือน้องๆที่คิดจะเข้าคณะสถาปัตย์ มันเป็นเหตุผลว่าทำไมงานดีไซน์คนนี้ถึงได้ A ทำไมคนนี้ได้ B C+ หรือD ทุกอย่างอยู่ที่การเรียนรู้และแรงบันดาล ไม่มีใครเก่งกว่าใคร อุปสรรคไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ปัญหาอยู่ที่ตัวเราเองที่ล้มเลิกความตั้งใจ จริงไหม

 

5 COMMENTS

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆนะครับ

  2. ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเช่นกันค่ะ จะหาบทความที่มีประโยชน์มาให้อ่านอีก

  3. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here