![]() |
ภาพโดย Miro |
ศิลปะนามธรรมเป็นศิลปะที่ยากต่อการเข้าใจ และตีความได้หลายแบบ ซึ่งศิลปินในลัทธินี้มีมากมาย และมีการใช้เทคนิคในการวาดที่แตกต่างกันออกไป งานศิลปะนามธรรมจึงใช้อารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการในการสร้างสรรค์ภาพขึ้นมา ผู้เขียนจะเล่าถึงผลงานของศิลปินที่ผู้เขียนสนใจ เพื่อให้เห็นงานศิลปะนามธรรรมในอีกแง่มุมหนึ่ง
ศิลปะนามธรรมด้วยรูปทรงเรขาคณิต
![]() |
Piet Mondrian |
ศิลปินที่ใช้รูปทรงเรขาคณิตในการสร้างผลงาน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานที่เน้นการจัดองค์ประกอบ(composition) สัดส่วน ให้มีความสมมาตรหรือไม่มีก็ตาม งานในลักษณะนี้สามารถนำไปประยุกต์กับงานอื่นๆได้ง่าย เนื่องจากมีความเรียบง่ายสามารถมองแล้วเข้าใจได้ทันที และเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานสร้างสรรค์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานแฟชั่น สถาปัตยกรรม และงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่ง Zaha Hadid ก็มีแรงบันดาลใจจากศิลปะนามธรรมในการทำงานสถาปัตยกรรม (คลิกที่นี่)
![]() |
ผลงานแฟชั่นโดย Yves Saint Laurent |
![]() |
ผลงานสถาปัตยกรรม |
![]() |
ภาพโดย Kazimir Malevich |
![]() |
ผลงานโดย Zaha Hadid ที่ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะนามธรรม |
ศิลปะนามธรรมด้วยรูปทรงอิสระ
![]() |
ภาพโดย Miro |
ศิลปะนามธรรมด้วยรูปทรงอิสระ เป็นงานที่ไม่เน้นองค์ประกอบมากนัก แต่จะใช้รูปทรงหลากหลายและใช้จินตนาการของศิลปิน ลักษณะงานมีความตื่นตาตื่นใจกว่าแบบรูปทรงเรขาคณิต และสามารถมองได้หลายความหมาย ซึ่งงานในรูปแบบนี้มีความซับซ้อนของตัวรูปทรง ให้ความรู้สึกแปลกตา หรือไม่สมประกอบ อย่างงานของ Miro ที่มีลายเส้นขยุกขยิก มีการเขียนเส้นที่บาง และมีการระบายสีที่ใช้แม่สี อย่างสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน หรืออย่างงานของ Wassily Kandinsky ก็ใช้รูปทรงหลากหลายในการจัดองค์ประกอบของภาพ ลักษณะของเส้นมีความเป็นระเบียบกว่างานของ Miro โดยงานแนวนี้มีการนำไปประยุกต์กับงานกราฟิกดีไซน์
![]() |
ภาพโดย Joan Miro |
![]() |
ภาพโดย Wassily Kandinsky |
![]() |
ภาพโดย Wassily Kandinsky |
ศิลปะนามธรรมแบบ minimalist
![]() |
ภาพโดย Barnett Newman |
ศิลปะนามธรรมแบบ minimalist เป็นรูปแบบงานที่ใช้สีที่สดในการแสดงงาน ส่วนใหญ่จะเป็นภาพขนาดใหญ่ มีลักษณะเหมือนภาพพื้นหลัง(Background) แม้ว่าภาพในลักษณะนี้จะดูเรียบง่าย ไม่มีอะไรนอกจากการใช้สี และการใช้เส้นตรงขีดขั้นไว้ มีความตรงไปตรงมา แต่พูดเขียนว่าน่าสนใจตรงที่มีความชัดเจน กล้าที่จะลงสีลงไป
![]() |
ภาพโดย Barnett Newman |
![]() |
ภาพโดย Mark Rothko |
ศิลปะนามธรรมแบบซับซ้อน
![]() |
ภาพโดย Willem de Kooning |
ศิลปะนามธรรมแบบซับซ้อน ลักษณะงานมีความซับซ้อน ไม่เป็นระเบียบ ใช้สีหลากหลาย ไม่เน้นเรื่ององค์ประกอบ สัดส่วน และความงามมากนัก แต่ให้อารมณ์ที่รุนแรง ลักษณะของงานจะมีเทคนิคในการละเลงสี สาดสี หยดสี ใช้มือละเลง เป็นภาพที่ไม่ต้องสื่อความหมายใดๆ
![]() |
ภาพโดย Willem de Kooning |
จากที่ผู้เขียนยกตัวอย่างมา 4 รูปแบบ สิ่งที่มีความชัดเจนในศิลปะนามธรรมคือ การใช้จินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก และความไม่สมประกอบ ที่ทำให้ศิลปะนามธรรมมีเอกลักษณ์ มีรูปแบบเฉพาะ และสามารถต่อยอดในงานสร้างสรรค์ต่อไปได้
ขอขอบคุณภาพประกอบ
http://uploads5.wikiart.org/images/joan-miro/harlequin-s-carnival-1925.jpg
http://24.media.tumblr.com/tumblr_m7nl8lhH7P1rp3hioo1_500.jpg
http://uploads8.wikiart.org/images/wassily-kandinsky/transverse-line-1923.jpg
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/5/5f/No_61_Mark_Rothko.jpg
http://cdn.thedailybeast.com/
http://www.conservapedia.com/images/0/06/Willem_de_Kooning_2.jpg