ผลงานศิลปะแบบ Surrealists ของ Salvador Dali

พูดถึงงานศิลปะ ก็จะต้องมีงานแสดงศิลปะ มีศิลปิน มีผู้คนมาเยี่ยมชมงาน และแน่นอนต้องมีการวิจารณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าการวิจารณ์นั้นจะเป็นในแง่ดีหรือแง่ลบ แต่ถ้ามีการวิจารณ์เกิดขึ้น นั่นเป็น ศิลปวิจารณ์ ซึ่งจริงๆแล้วคำว่าศิลปวิจารณ์นี้น่าสนใจมาก เพราะว่างานศิลปะจะเติบโตได้ หรือมีคนให้ความสนใจมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับคำวิจารณ์ เราได้ไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ศิลปวิจารณ์ ของรองศาสตราจารย์ สุชาติ เถาทอง เป็นหนังสือที่บอกเกี่ยวกับทฤษฎีและความเป็นมาของศิลปวิจารณ์ คำนี้อาจจะไม่คุ้นหูกับคนไทยมากนัก แต่สำหรับแถบยุโรป และอเมริกาการวิจารณ์ถือเป็นอาชีพเลยก็ว่าได้ นักวิจารณ์เหมือนเป็นตัวแทนประชาชนในการแสดงความคิดเห็น มีสิทธิ์มีเสียง พูดถึงงานว่าแสดงออกอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่คนที่เป็นนักวิจารณ์ได้นั้น ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือศึกษามาเป็นอย่างดีแล้ว และต้องสื่อสารออกมาเป็นคำพูดหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และบทความให้คนทั่วไปเข้าใจได้

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศิลปวิจารณ์เกิดขึ้นในเมืองไทยช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย ในช่วงที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรีเข้ามาปรับปรุงพัฒนาศิลปะในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นศิลปะในไทยยังล้าหลัง ผู้คนที่มีความรู้ด้านศิลปะมีน้อยมาก อาจารย์ศิลป์ พีระศรีที่เข้ามารับราชการในเมืองไทย และได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศิลปะ ซึ่งปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผลทำให้ประชาชนมีความรู้ด้านศิลปะมากขึ้น และทำให้ประชาชนหันมาสนใจศิลปะ ยังทำให้ประชาชนเริ่มรู้จักการวิจารณ์งานศิลปะ โดยอาจารย์ศิลป์เป็นผู้บุกเบิกเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะ ร่วมกับพระยาอนุมานราชธน (ผู้แปลบทความ) โดยบทความของอาจารย์ศิลป์มีความเรียบง่าย และตรงไปตรงมา ซึ่งท่านได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวิจารณ์ว่า

-เป็นเรื่องเกี่ยวกับทุกคน – ทุกคนมีสิทธิ์ติชม วิจารณ์หรือวินิจฉัย
-ถ้าเป็นช่างฝีมือไม่ดี ควรทำตามอย่างอาจารย์ แต่ถ้าทำตามมากเกินไปจะไม่เรียกว่า ศิลปะ

หลักวิจารย์ของท่านมี 3 แบบ
1. มโนภาพ คือ การวิจารณ์ที่สามารถจินตนาการเห็นภาพตาม
2. ความรู้สึกสะเทือนใจ
3. การแสดงออก

และในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 มีการวิจารณ์ศิลปะกันมากขึ้น ทุกคนตื่นตัวกับงานศิลปะ เนื่องจากมีการประกวดการวาดภาพเกิดขึ้น และสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ได้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะโดยใช้นามปากกาว่า “อัศวพาหุ” ในหนังสือ Siam Observer การวิจารณ์มามีบทบาทมากๆในช่วงสงครามโลก ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ในช่วงนั้นประเทศไทยต่อต้านลักธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาในประเทศไทย แล้วได้นำศิลปะแบบอเมริกาเข้ามาด้วย คนก็เริ่มศึกษาศิลปะแบบอเมริกามากขึ้น จากที่แต่เดิมเมืองไทยศึกษาแต่ศิลปะของยุโรป ช่วงนี้การปกครองในประเทศไทยปกครองด้วยระบอบทหารเป็นเวลา 10 ปี และเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะ เกิดกระแสศิลปะเพื่อชีวิต (Art for life’s sake) และเกิดดนตรีเพื่อชีวิต ภาพวาดสะท้อนชีวิตในสังคมมากขึ้น

จากภาพเป็นงานศิลปะแนว Abstract Expressionism ผลงานของ Jackson Pollock โดยศิลปะลักธิ abstract เกิดขึ้นและมีบทบาทมากในนิวยอร์ก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า The New York School เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1940-1950 หรือในสมัยช่วงสงครามโลก และเป็นช่วงที่ไทยรับศิลปะแบบอเมริกาเข้ามา ศิลปะแบบ abstract เป็นการแสดงอารมณ์แบบนามธรรม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ซึ่งศิลปินมีกลวิธีในการแสดงออกหลายเทคนิค เช่น การใช้สีราด สาด เท หยดสี ใช้แปรงละเลงสี รวมทั้งใช้ร่างกายทุกส่วนระบาย หรือกลิ้งสีไปบนผืนผ้าใบ เป็นต้น

แต่ศิลปวิจารณ์ยังเป็นข้อด้อยในเมืองไทย เนื่องจากนิสัยที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่กล้าโต้แย้งหรือแสดงความคิดเห็น หรือถ้าวิจารณ์ก็จะชมส่วนใหญ่ หรือยกยอ จริงๆแล้วการวิจารณ์ทำให้ศิลปะลักธินั้นๆเติบโตมีความรุ่งเรืองหรือไม่ได้รับความนิยมได้ ซึ่งนักวิจารณ์ที่ดีจะต้องไม่มีการลำเอียง ชมยกย่ิองหรืออคติจนเกินไป แต่จะกระตุ้นให้ศิลปินย้อนกลับมามองตัวเอง แล้วพัฒนางานให้ดีขึ้นไป และผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้จริง ไม่ใช่ดูผ่านๆแล้ววิจารณ์ตามเนื้อผ้า

งานของแวนโก๊ะอย่างงาน ” Sunflowers” เป็นงานในช่วง ค.ศ. 1888 ใช้สีนำมันระบายบนผืนผ้าใบ ช่วงชีวิตของแวนโก๊ะงานศิลปะของเขาตกตำ่มาก เนื่องจากผู้คนไม่ยอมรับการวาดภาพแนวใหม่หรือปัจจุบันเรียกลักธินี้ว่า Post Impressionism งานของแวนโก๊ะถูกหัวเราะเยาะ และสถาบันศิลปะฝรั่งเศสไม่ยอมรับ และภาพของเขาเคยถูกซื้อในราคาที่ตำ่มาก และเห็นว่าเป็นสิ่งที่รกบ้าน แต่หลังจากที่แวนโก๊ะเสียชีวิตในวัยเพียง 37 ปี แวนโก๊ะกลับมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เนื่องจากคนรุ่นใหม่เริ่มยอมรับในงานของเขา และเห็นว่าต่อไปศิลปะแบบนี้จะเป็นที่นิยม

เป็นตัวอย่างว่าศิลปะวิจารณ์มีอิทธิพลกับงานศิลปะและตัวศิลปิน และความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ อนาคตข้างหน้าเราคงเห็นศิลปะแนวใหม่ๆ ที่แสดงตัวตนชัดเจนมากขึ้น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here