Carpenter วงดนตรีชื่อดังในยุค 70

เพลงที่ดังมากๆคาดว่าทุกคนคงเคยได้ยิน เสียงเพลงดนตรีมีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะเสียงนักร้องหญิงที่หาคนร้องเหมือนได้ยาก นั่นคือวง Carpenter โดยเฉพาะเพลง Yesterday one more ที่เป็นเพลงประจำตัวของ Carpenter ไปแล้ว ถือเป็นวงดนตรีที่มีเพลงคงความคลาสสิกมิเสื่อมคลาย

Carpenter เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยสองพี่น้องตะกูลคาร์เพนเทอร์ คือ Karan Carpenter และ Richard Carpenter พวกเขาเติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางในอเมริกา โดยตอนเด็กๆ Richard ผู้เป็นพี่มักสนใจกับแผ่นเสียงของพ่อ เขามักจะขลุกอยู่ในห้องเก็บแผ่นเสียงและซ้อมเล่นเปียโนมากกว่าออกไปเตะฟุตบอลเหมือนเด็กคนอื่นๆ เขาเป็นเด็กมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ทำให้เขาเป็นที่ชื่นชมของ Agnes Carpenter ผู้เป็นแม่ จริงๆแล้ว Karan ก็มีพรสวรรค์เหมือนกับพี่แต่ยังไม่มีใครเห็นเท่านั้น Richard จึงเริ่มเรียนทางด้านดนตรี เขาสนใจการแต่งเพลงและการเรียบเรียงเสียงประสาน ขณะที่เคเรนมีบุคลิกออกทอมบอย ชอบเล่นกีฬากลางแจ้ง แต่เธอมักจะตามพี่ชายเสมอ เพราะเธอเห็น Richard เป็นไอดอล เมื่อRichardเล่นดนตรีเธอจึงเล่นดนตรีด้วย เธอได้ฝึกเล่นกลองชุดทำให้สามารถเข้าร่วมวงกับพี่ได้ และนอกจากนี้เธอยังสามารถเล่นเบสได้ด้วยจาการสอนของ Gary Sims ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในวง

สมัยที่ยังเป็นวง Richard Carpenter Trio
Hollywood Bowl Battle of the Bands ที่ทำให้พวกเขาเริ่ม
มีชื่อเสียงขึ้นมาบ้าง

จุดเริ่มต้นของการตั้งวง Carpenter มาจากเริ่มแรก Richardได้ก่อตั้งวง  Richard Carpenter Trio มีสมาชิก 3 คนคือ  ริชาร์ด, แคเรน และ เวส จาคอปส์ ซึ่งเป็นเพื่อนของริชาร์ด ในปี 1966 โจ ออสบอร์น ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายเพลง Magic Lamp Records ที่เป็นค่ายเพลงเล็กๆ (สำนักงานดัดแปลงจากโรงรถ) สนใจในน้ำเสียงของแคเรน จึงได้รับเป็นศิลปินในสังกัด และได้ออกซิงเกิลชื่อ Looking For Love ประมาณ 500 แผ่นเท่านั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดการโปรโมตของค่าย ในกลางปี 1966

วงริชาร์ดคาร์เพนเทอร์ทริโอได้เข้าแข่งขันรายการ Hollywood Bowl Battle of the Bands และชนะเลิศในรายการดังกล่าว ทำให้พวกเขาได้รับความสนใจและเซ็นสัญญาเข้าสังกัด RCA Records พวกเขาได้บันทึกเสียงหลายเพลงด้วยกัน แต่เนื่องจากรูปแบบที่ทำออกมาไม่ได้เป็นไปตามกระแสนิยมของตลาดช่วงนั้น ซึ่งเพลงร็อกแอนด์โรลยังเป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้พวกเขาถูกระงับการออกอัลบั้ม ในปี 1967 ริชาร์ดได้ตั้งวงขึ้นมาใหม่ในชื่อ Spectrum และยุบวงในปี 1968

อัลบั้ม Ticket To Ride อัลบั้มแรกของวง Carpenter

ริชาร์ดได้ตัดสินใจทำงานดนตรีทั้งหมดด้วยตัวเองขึ้นมา ในชื่อ “คาร์เพนเทอร์ส” (ตั้งชื่อไม่ให้มี “เดอะ” นำหน้า เนื่องจากไม่ต้องการให้เหมือนชื่อวงดนตรีอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมขณะนั้น โดยพวกเขา (ริชาร์ดและแคเรน) ทำงานกันเองทั้งหมด ทั้งการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงดนตรี บรรเลง ร้องนำ และ ร้องประสาน ด้วยความที่ริชาร์ดเชื่อมั่นในน้ำเสียงของแคเรน ว่าสามารถเป็นนักร้องนำได้ เขาได้ส่งเทปเดโมไปยังค่ายเพลงต่างๆ จนในที่สุด Herb Alpert เจ้าของค่าย A&M Records ได้สะดุดกับการเรียบเรียงดนตรีของริชาร์ด และน้ำเสียงของแคเรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเสียงของแคเรนประทับใจ Herb Alpert เป็นอย่างมาก ทำให้ Herb Alpert ตกลงใจที่จะรับให้พวกเขาเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดในต้นปี 1969

ในปลายปีนั้นเองก็ได้ออกอัลบั้มแรกในนามของวงคาร์เพนเทอร์ส Offering (เปลี่ยนชื่อและปกเป็น Ticket To Ride ตามซิงเกิลแรกที่ได้รับความนิยมในปี 1970) เป็นอัลบั้มแรกของพวกเขา โดยมีเพลง Ticket To Ride ซึ่ง cover มาจาก The Beatles ปล่อยมาเป็นซิงเกิลแรก โดยได้นำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ทั้งหมด จากเพลงเร็วกลายเป็นบัลลาดช้าๆ ที่ไม่เหมือนของเดิมเลย Ticket To Ride ติดชาร์ทอันดับที่ 54 ของอเมริกา อัลบั้มดังกล่าวมียอดขายที่ไม่มากนัก (ภายหลังมีการออกจำหน่ายใหม่โดยมีการเปลี่ยนปกและชื่ออัลบัมเป็น “Ticket To Ride” แทน) แต่อย่างไรก็ดี Herb Alpert ก็ไม่ได้ให้เขาออกจากสังกัด แต่ยังให้โอกาสกับพวกเขาออกอัลบั้มที่ 2 อีกด้วย

อัลบั้ม Close to You อัลบั้มชุดที่ 2 ของวง Carpenter โดยอัลบั้มนี้
ทำให้พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมี่ และเริ่มมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

ในขณะเดียวกันนั้น Burt Bacharach ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงมือฉมัง ที่แต่งเพลงฮิตให้กับ Dionne Warwick มากมายหลายเพลง ได้ยินเพลง Ticket To Ride ในเวอร์ชันของคาร์เพนเทอร์สและสนใจพรสวรรค์ในการเรียบเรียงเสียงประสานของพวกเขา จึงได้ติดต่อกับ Herb ว่า เขาต้องการให้วงคาร์เพนเทอร์สซึ่งเป็นศิลปินในสังกัดได้ร่วมเปิดการแสดงให้เขาในงานคอนเสิร์ทการกุศล โดยให้พวกเขาเล่นเพลงที่แต่งโดย Burt Bacharach และ Hal David ซึ่งทาง Herb ก็ยินดีและได้ให้ชีทเพลงของ Bacharach และ David กับริชาร์ดหลายเพลงเพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อใช้แสดงในงานงานคอนเสิร์ตการกุศลดังกล่าว Herb ได้ถามริชาร์ดว่ารู้จักเพลง (They Long To Be) Close To You หรือไม่ เพราะจะให้นำมาใช้เล่นเป็นเมดเล่ย์ในคอนเสิร์ตด้วย แต่ริชาร์ดเองก็ไม่คุ้นเคยกับเพลงดังกล่าวอย่างใด เนื่องจากเพลงนี้ไม่ได้เป็นเพลงที่ฮิตของ Bacharach และ David แต่หลังจากที่ริชาร์ดได้นำชีทเพลงนี้ไป เขากลับมาบอกกับ Herb ว่าเปลี่ยนใจที่จะนำใช้แสดงในคอนเสิร์ต แต่จะนำมาทำเป็นเพลงของคาร์เพนเทอร์สเอง โดยหลังจากความพยายามของการเรียบเรียงและการปรับแก้ของ Herb ถึงสามครั้ง สุดท้ายสำเร็จอย่างที่ทุกคนต้องการ (They Long To Be) Close To You ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลที่ 2 ของพวกเขา เพียงไม่กี่อาทิตย์ก็ขึ้นสู่อันดับที่ 1 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของอเมริกา และครองอันดับ 1 ได้นานถึง 4 สัปดาห์ เป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นแรกของพวกเขา และสามารถขึ้นชาร์ทอันดับที่ 6 ในอังกฤษได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นศิลปินหน้าใหม่ที่ได้รับการความนิยมอย่างมาก อัลบั้ม Close To You กลายเป็นอัลบั้มขายดีขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ของอเมริกา และตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 We’ve Only Just Begun จากอัลบั้มนั้นเอง ก็ได้รับความนิยมมากไม่ต่างจาก (They Long To Be) Close To You โดยขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของอเมริกาได้นานถึง 4 สัปดาห์ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สองของพวกเขาในปีเดียวกัน อัลบัม Close To You สามารถขึ้นอันดับ 2 ในสหรัฐ และ 23 ในอังกฤษ โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านแผ่น (ณ ขณะนั้น) และเพลง (They Long To Be) Close To You ก็ทำให้พวกเขาได้รับรางวัล Grammy ถึง 2 รางวัลในปี 1970 คือ Best New Artist (ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม) และ Best Contemporary Vocal Performance by a Duo, Group or Chorus (ปัจจุบันทั้ง (They Long To Be) Close To You และ We’ve Only Just Begun ถูกบรรจุไว้ใน Grammy Hall of Fame awards) ซึ่งตำนานของวงคาร์เพนเทอร์สได้เริ่มต้นขึ้น ณ จุดนั้นเอง

นอกจากนี้ยังมีเพลงหลายเพลงในชุด Close To You ที่ได้รับเช่น Reason To Believe (ริชาร์ดชอบเพลงนี้เป็นพิเศษและคิดจะตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิลถัดไปด้วย), Maybe It’s You (เป็นเพลงจากช่วงยุคก่อนวงคาร์เพนเทอส์ และกลายเป็นเพลงไฮไลทของชุดทีเดียว), Mr. Guder (เป็นเพลงที่ริชาร์และ John แต่งเพื่อร้องล้อเลียนนาย Guder ซึ่งเป็นหัวหน้างานของพวกเขาขณะที่พวกเขาทำงานพิเศษร้องเพลงในดิสนีแลนด์ แต่เนื่องจากไปร้องเพลงของ Beatle ตามคำขอของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ร้องในดิสนี่แลนด์ทำให้พวกเขาถูกไล่ออก!!! เพลงนี้ได้รับความนิยมจากคนดูคอนเสิร์ทมาก), Love Is Surrender และ Help (ในครั้งแรกเพลงนี้ถูกวางแผนให้ตัดเป็นซิงเกิลแรกของชุด แต่หลังจากที่ Herb ได้ยินเพลง (They Long To Be) Close To You แล้วจึงเปลี่ยนความคิดทันที)

อัลบั้ม Merry Christmas Darling เป็นพลงที่ติดชาร์ทอันดับหนึ่ง
ในช่วงคริสต์มาสในปี 1970

ปลายปี 1970 พวกเขาได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ตามมาคือ Merry Christmas, Darling ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยเพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งในคริสต์มาส ชาร์ทในปี 1970 และ 1971 หลังจากความสำเร็จอย่างท้วมท้นของซิงเกิล (They Long To Be) Close To You และ We’ve Only Just Begun ทำให้พวกเขาค่อนข้างเครียดกันมากว่าเพลงอะไรจะเป็นซิงเกิลต่อไปของพวกเขา เป็นปัญหาที่ริชาร์ดแก้ไม่ตกที่เดียว จนกระทั่งคืนที่พวกเขาไปแสดงเปิดคอนเสิร์ทให้กับ Engelbert Humperdinck ขณะช่วงเวลาพักผู้จัดการส่วนตัวของพวกเขาได้แนะนำให้พวกเขาไปผ่อนคลายด้วยการดูภาพยนตร์เรื่อง Lovers and Other Strangers เมื่อริชาร์ดได้ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์นั่นเองทำให้เขาพบกับทางออกของปัญหา นั่นคือเพลง For All We Know ในเรื่องสะดุดหูริชาร์ดเป็นอย่างมากเขาคิดว่าเพลงนี้ไม่ใช่แค่เหมาะกับเสียงร้องของแคเรนเท่านั้นแต่ยังเหมาะกับสไตล์ของวงอีกด้วย ทั้งคู่จดจำท่วงทำนองและนำกลับมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในแนวของคาร์เพนเทอส์ ซึ่งก็แน่นอนหลังจากเพลงนี้ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลก็เริ่มไต่สู่ชาร์ท For All We Know กลายเป็นเพลงฮิตเพลงที่ 3 ของพวกเขา ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 3 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สาม ด้วยความดังของเพลงนี้ในเวอร์ชันคาร์เพนเทอส์ ทำให้เวอร์ชันเพลงประกอบภาพยนตร์ได้รับอิทธิพลไปด้วย ทำให้เพลงนี้ชนะรางวัลออสกาสาขา Academy Award for Best Original Song ในปี 1971 จากนั้นก็ได้เวลาของอัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเขา “Carpenters” อัลบั๊มนี้นอกจากจะมีเพลง For All We Know แล้ว ยังมีซิงเกิลฮิตอีก 2 เพลงตามมาคือ Rainy Days And Mondays และ Superstar ซึ่งทั้ง 2 เพลงก็เป็นเพลงฮิตที่ได้รับความนิยมสูงมาก ขึ้นอันดับ 2 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สี่และห้าของพวกเขาอีกด้วย

สำหรับอัลบั๊ม Carpenters เป็นอัลบั๊มแรกที่พวกเขาเริ่มใช้โลโก้ “Carpenters” ที่คุ้นตาไว้บนหน้าปกอย่างเป็นทางการอีกด้วย อัลบั๊ม Carpenters ขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทอัลบั๊ม 100 อันดับของอเมริกา ทำยอดขายได้เกินล้านแผ่น และได้รับรางวัล Grammy “Best Pop Vocal Performance by a Duo or Group” ในปี 1971 อีกด้วย ซึ่งนอกจาก 3 ซิงเกิลดังแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ เพลงที่เป็นที่นิยมของแฟนเพลงเช่น Let Me Be The One, (A Place To) Hideaway และ One Love เพลง Let Me Be The One เป็นเพลงหนึ่งที่ริชาร์ดูรู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษและคิดว่าถ้าหากตัดเป็นซิงเกิล เพลงคงจะเป็นหนึ่งในเพลงดังของวงอย่างแน่นอน (Let Me Be The One ถูกตัดเป็นแผ่นซิงเกิลในปี 1991 เพื่อโปรโมทอัลบัมชุด “From The Top”) เพลง (A Place To) Hideaway เป็นเพลงที่แฟนเพลงคาร์เพนเทอส์หลายคนโหวตว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดของวงเพลงหนึ่งเลยทีเดียว

จากการที่พวกเขาประสบความสำเร็จต่อเนื่องอย่างสุด ๆ ทำให้ตั้งแต่ปลายปี 1970 จนถึง 1972 พวกเขาแถบไม่มีเวลาสำหรับการเขียนหรือหาเพลงที่จะมาทำในอัลบั้มใหม่เลย ทั้งจากการทัวร์คอนเสิร์ทตลอดทั้งปี การแสดง รายการโทรทัศน์ มาถึงปี 1973 งานเก่าในสมัยที่เป็นวง Specturm ถูกนำมาใช้กับอัลบั้มชุด Ticket To Ride, Close To You, Carpenters และ A Song For You จนหมด แต่จากการแสดงสดในปี 1972 พวกเขาได้เลือกเอาเพลงดังในยุคปี 1960s มาแสดงด้วยและก็ได้รับการตอบรับอย่างสูง ริชาร์ดเองก็ได้คอนเซ็ปจากเหตุการณ์ดังกล่าวมาใช้ในการนำเสนออัลบั้มถัดไปนั่นคือแบ่งเพลงในอัลบั้มถัดไปเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าแรกจะเป็นเพลงใหม่ตามปกติ ส่วนหน้าหลังจะเป็นเมดเล่ย์เพลงดังในยุค 1960s โดยได้คอนเซ็ปนั้นมาเป็นเพลง Yesterday Once More ซึ่งบรรยายถึงความรู้สีกดี ๆ ที่มีต่อเพลงรักเก่า ๆ ที่เคยร้องคลอตาม เมื่อกลับมาได้ยินอีกครั้ง อัลบัมที่ห้านี้ใช้ชื่อว่า Now And Then ตามที่ Agnes มารดาของพวกเขาได้ตั้งให้ โดยมีเพลง Sing เป็นซิงเกิลเปิดตัว Sing เป็นเพลงจากรายการเด็ก Sesame Street ทำให้สต๊าฟส่วนใหญ่ใน A&M ว่าพวกเขาที่บ้าไปแล้วที่ตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิล

แต่อย่างไรก็ดีหลังจาก Sing ออกจำหน่ายก็ได้รัยความนิยมอย่างมากทันที โดยขึ้นชาร์ทอันดับ 3 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่เจ็ดของพวกเขา และตามมาด้วย Yesterday Once More ซึ่งแต่งโดยริชาร์ดและ John Bettis กลายเป็นเพลงที่ดังที่สุดของพวกเขา ณ ขณะนั้น โดย โดยขึ้นชาร์ทอันดับ 2 ในอเมริกาและ 2 อังกฤษ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่แปด เพลงนี้ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในญีปุ่น เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาลเพลงหนึ่งในญีปุ่นทีเดียว นอกจากนี้อัลบั้ม Now And Then ยังมี highlight ที่เมดเล่ย์ oldies ในหน้าที่ 2 ที่รวมเอาเพลงดัง ๆ จากยุค 60s มา cover รวมกัน โดยทำให้เหมือนกับการฟังวิทยุที่มีดีเจดำเนินรายการ (Tony Peluso) คอยเปิดและแนะนำเพลงและมีคนเข้ามาร่วมทายปัญหาในรายการด้วยโดยมีเพลง Yesterday Once More เป็นเพลงนำเข้าและปิดเมดเล่ย์ อัลบัม Now And Then ประสบความสำเร็จขึ้นสู่อันดับ 2 ทั้งในอเมริกาและอังกฤษ มียอดจำหน่ายเกินกว่าล้านแผ่น และประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น ซึ่งทำให้วงคาร์เพนเทอส์เป็นที่นิยมสูงสุดในญี่ปุ่นอีกด้วย นอกจากสองเพลงดังแล้วยังมีเพลงฮิต (ที่ไม่ได้ถูดตัดเป็นซิงเกิลด้วย) ได้แก่ Jambalaya (On The Bayou) และ This Masquerade ซึ่งทั้งสองเพลงกลายเป็นเพลงฮิตที่แฟนเพลงทุกคนต้องรู้จัก

ซิงเกิลถัดไปพวกเขาเลือกที่จะปล่อยคือ Top Of The World ซึ่งเป็นเพลงจากอัลบั้ม A Song For You ในปี 1972 ซึ่งก็ได้รับการค้านจากสต๊าฟส่วนใหญ่ใน A&M อีกเช่นกันเนื่องจากเป็นเพลงจากอัลบั้มเก่าเมื่อปีที่แล้ว และนอกจากนี้เพลงที่ตัดเป็นซิงเกิลจากอัลบั้ม A Song For You ก็มีมากแล้ว (Hurting Each Other, It’s Going To Take Some Time และ Goodbye To Love รวมถึง Bless The Beasts And Children ที่เป็น B-side ของซิงเกิล Superstar ด้วย)แต่ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวกับเพลง Top Of The World ทำให้ริชาร์ดเชื่อว่าเพลงนี้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นเพลงดังเพลงต่อไปของพวกเขา เช่นการได้รับการตอบรับเหมือนเป็นเพลงฮิตเมื่อพวกเขาเล่นในคอนเสิร์ท, Lynn Anderson นักร้องเพลงคันทรี cover เพลงนี้และสามารถไต่ขึ้นอันดับ 2 ของคันทรีชาร์ทได้, สถานีวิทยุต่าง ๆ ขึ้นชาร์ทเพลงนี้จากการขอเพลงทางวิทยุเพียงอย่างเดียว, มีการตัดเพลงนี้ออกเป็นซิงเกิลในญีปุ่นและมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำ รวมถึงแฟนเพลงต่างก็เรียกร้องให้ริชาร์ทตัดเพลงนี้ออกมาเป็นซิงเกิล

อย่างไรก็ดีริชาร์ดเองรู้สีกไม่พอใจกับ steel กีต้าร์ในเวอร์ชันเดิม รวมทั้งตัวแคเรนก็ยังไม่พอใจกับการร้องของตัวเอง จึงได้บันทึกเสียงเพลงนี้ใหม่ (เฉพาะเสียงร้องนำของแคเรน และ steel guitar เท่านั้น) ผลปรากฏว่า Top Of The World ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 1 ในอเมริกา และ 5 ในอังกฤษ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่เก้า ด้วยความดังของเพลง Top Of The World ทำให้ A&M ต้องออกอัลบั้มรวมฮิต The Singles 1969-1973 รวมผลงานซิงเกิลจากปี 1969 จนถึงเพลงล่าสุด แคเรนเองไม่พอใจกับการร้องของตัวเองในอัลบั้ม Ticket To Ride มาก โดยเธอได้บันทึกเสียงร้องและกลองใหม่ (แคเรนเล่นตำแหน่งกลองด้วยในการบันทึกเสียงชุด Ticket To Ride) ส่วนริชาร์ดเองก็ได้ให้ Tony Peluso เพิ่มเติมเสียงกีต้าร์ลงในเพลง Ticket To Ride ด้วย ซึ่งก็กลายมาเป็นเวอร์ชันที่คุ้นหูที่สุด (ในอัลบั้มรวมฮิตทั้งหมดจะเป็นเวอร์ชันนี้)อัลบั้ม The Singles 1969-1973 มียอดจำหน่ายถล่มทลาย สามารถขึ้นอันดับ 1 ได้ทั้งในอังกฤษและอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษอัลบั้มนี้สามารถครองอันดับ 1 ได้นานถึง 17 สัปดาห์ กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอัลบั้มหนึ่งในยุค 70s ทีเดียว

หลังจากที่ Top Of The World ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นแล้ว ทีมงาน A&M ได้ปล่อยเพลง Jambalaya (On The Bayou) จากอัลบั้ม Now And Then ซึ่ง cover งานเพลงเก่าของราชาเพลงคันทรี Hang William ออกเป็นซิงเกิลจำหน่ายในหลายประเทศยกเว้นที่อเมริกา (ซึ่งริชาร์ดอาจจะไม่ได้คิดถึงในจุดนี้) ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเกินคาดเพราะสามารถขึ้นอันดับที่ 12 ได้ในอังกฤษ รวมถึงมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำในประเทศญี่ปุ่นและฮอลแลนด์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮอลแลนด์ Jambalaya (On The Bayou) กลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของคาร์เพนเทอส์ทีเดียว หลังจากออกอัลบั้ม Now And Then แล้วพวกเขาแทบไม่มีวัตถุดิบในการทำงานชุดใหม่เหลือเลย อีกทั้งยังเหนื่อยมากจากการทัวร์คอนเสิร์ทที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

ด้วยเหตุนี้ในปี 1974 นี้ พวกเขาจึงยังไม่มีอัลบั้มใหม่ออกมา แต่มีซิงเกิลใหม่ตามออกมานั่นคือ I Won’t Last A Day Without You เพลงจากอัลบั้ม A Song For You ในปี 1972 ด้วยเหตุผลที่คล้ายกันกับ Top Of The World ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ 6 ที่ถูกตัดเป็นซิงเกิลจากอัลบั้ม A Song For You (นับรวม Bless The Beasts And Children) I Won’t Last A Day Without You ประสบความสำเร็จอย่างดี เมื่อขึ้นชาร์ทอันดับที่ 11 ในอเมริกา และ 32 ในอังกฤษ (เพลงนี้ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 9 ในอังกฤษพร้อมกันกับ Goodbye To Love ในปี 1972 มาแล้วครั้งหนึ่ง) นอกจากนี้เพลงนี้ยังชนะรางวัล “World Disc Grand Prix” ในสาขาซิงเกิลแห่งปี 1974 ในประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่ง ณ ขณะนี้ความนิยมของวงคาร์เพนเทอส์ในญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นมากในระดับที่เทียบเท่ากับวง The Beattle ซึ่งในปีนั้นเองพวกเขาได้มีกำหนดการที่จะออกทัวร์คอนเสิร์ทตามประเทศต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนหนึ่งในนั้นคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้ทีมงาน A&M ประจำญี่ปุ่นนำการแสดงสดดังกล่าวมาทำและจัดจำหน่ายเป็นอัลบั้มคู่ Live In Japan ซึ่งก็ได้รับความนิยมและจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำเช่นกัน

ในปลายปี 1974 พวกเขากลับเขาสตูดิโออีกครั้งพร้อมกับบันทึกเสียงซิงเกิลใหม่ Please Mr. Postmanเพลง cover จากกลุ่มนักร้องสาวผิวสี Marvelettes โดยได้เรียบเรียงเสียใหม่ให้มีความกระชับกว่าเดิม ผลปรากฏว่า Please Mr. Postman ขึ้นชาร์ทอันดับ 1 ในอเมริกาเป็นเพลงที่ 3 และยังขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ในอังกฤษ และในอีกหลาย ๆ ประเทศ เพลงนี้ได้รับแผ่นเสียงทองคำในอเมริกาเป็นเพลงที่ 10 ของพวกเขา ริชาร์ดกล่าวว่า เขาเคยคิดว่าเพลง Yesterday Once More เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดของพวกเขา แต่ตอนนี้ Please Mr. Postman คือเพลงที่โด่งดังที่สุดของพวกเขา หลังจากนี้พวกเขายังปล่อยเพลง Santa Claus Is Comin’ To Town ซึ่งเป็นเพลงคริสต์มาสต์เพลงที่ 2 ของพวกเขาเป็นซิงเกิลถัดมา แม้จะไม่ได้รับความนิยมมากเท่า Merry Christmas, Darling แต่เพลงนี้ก็ยังขึ้นอันดับ 35 ในฝั่งอังกฤษ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง เป็นช่วงที่แคแรนเริ่มอาการของแอนนอริเซีย เนฟโวซา (Anorexia nervosa) ซึ่งเป็นโรคกลุ่มอาการผิดปกติในเรื่องการกินอาหาร

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here