![]() |
Conceptual Art |
มาพูดถึงงานศิลปะกันบ้าง ยุคในปัจจุบันนี้ศิลปะมีหลายประเภทมากมายเหลือเกิน แต่ศิลปะที่เราน่าจะเห็นกันบ่อยเวลาเราไปดูงานตามงานศิลปะ หอศิลป์ ที่มีการจัดวางงานศิลปะ แล้วมีการบรรยายตัวงาน นั่นคือ conceptual art ศิลปะแนวความคิดหรือเรียกอีกอย่างว่า ศิลปะการจัดวาง โดย conceptual artถือเป็นศิลปะในยุค post modern เป็นงานศิลปะสมัยใหม่
![]() |
Sol LeWitt |
ศิลปินชาวอเมริกัน Sol LeWitt เป็นศิลปินแรกๆที่บุกเบิกศิลปะแนวความคิด ได้ให้นิยามไว้ว่า
“การสร้างศิลปะเชิงแนวความคิด ความคิดหรือไอเดียเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการสร้างงาน เมื่อศิลปินใช้รูปลักษณ์ของศิลปะแนวความคิด นั่นหมายความว่า การวางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงานได้รับการทำไปแล้ว การสร้างงานจริงจึงเป็นการทำอย่างเป็นพิธีเท่านั้น ความคิดกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานศิลปะ”
งานของ Sol LeWitt จะเป็นการวาดบนผนังเป็นรูปแบบสองมิติและสามมิติ ผลงานที่วาดบนกระดาษกว่าร้อยชิ้นของเขาได้ขยายเป็นโครงสร้างอาคารปิระมิด เรขาคณิต โดยผลงานอาคาร Sol Lewitt Tower ตั้งอยู่หน้า Figge Art Museum
![]() |
Sol Lewitt Tower |
นอกจากจะมีงานวาดบนผนัง LeWittยังมีงานประติมากรรม งานเขียนหนังสือ งานประติมากรรมของเขาส่วนใหญ่ใช้หลัก Modular ลักษณะงานเป็นรูปทรงรูปบาศก์(cube) รูปแบบฟอร์มแบบนี้ช่วงหลังมีอิทธิพลต่อศิลปินอื่นๆในการทำงานศิลปะ LeWitt มีชื่อเสียงในเรื่องการใช้ภาษาของรูปทรงเรขาคณิต
![]() |
งานประติมากรรมของ Sol LeWitt ที่เป็นลูกบาศก์ |
![]() |
งานประติมากรรมของ Sol LeWitt ใช้อะคริลิก และ fiberglass |
งานวาดผนังของ Sol Lewitt จะเป็นรูปแบบgraphic ใช้ดินสอสีหรือหมึก เป็นเส้น ใช้หมึกขาวดำ ไม่ก็เป็นสีสันสดใส
![]() |
wall drawing ของ Sol Lewitt |
![]() |
wall drawing |
![]() |
wall drawing ที่ใช้หลักการ modular นำรูปทรงเรขาคณิตมาเรียงต่อๆกัน |
![]() |
งานสถาปัตยกรรมของ Sol LeWitt |
จริงๆทุกคนสามารถทำงานแนว conceptual art ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฝีมือทางศิลปะมากนัก เพียงแค่มีความคิดมีไอเดียกลั่นกรองออกมา เพียงเท่านี้ ซึ่งงาน conceptual art สามารถสร้างสรรค์งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าการเขียน ห่อ พับ แสดง ถ้ามีไอเดียล้วนเป็นงานconcept art
ซึ่งกลุ่มแรกๆที่ทำศิลปะแนวนี้คือ กลุ่มลัทธิอนุตรนิยม(Suprematism)หรือสุปรีมาติสม์ คาซิมีร์ มาเลวิช (Kashmir Malevich) ค.ศ. 1878-1935 โดยวางทฤษฎีภาพเขียนชื่อว่า จัตุรัสสีดำ (1915) ไว้ว่า กำหนดวิธีเขียน และกรรมวิธีอื่นๆให้อยู่ในรูปทรงเรขาคณิตแบบง่าย เช่นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือกากบาท ) ศิลปินยึดหลักที่ว่าปรากฎการณ์ต่างๆในโลก ไม่มีความหมายในตัวเองเลย จุดสำคัญส่วนใหญ่คือ ความรู้สึกของผู้ดูเมื่อพบสิ่งต่างๆในโลกรอบๆตัวต่างหาก ความรู้สึกนี้จะปรากฎเด่น สร้างความคิดสร้างสรรค์ สะเทือนใจมนุษย์มากกว่ารูปร่างของวัตถุนั้นๆ
ต่อมาเป็นกลุ่มลัทธิดาดา (Dada) คือ มาร์เชล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ค.ศ 1917-1964 ที่ทำให้วัสดุสำเร็จรูป เข้าสู่ศิลปะที่เป็น รูป และความงาม ของ ความคิด ทำให้ศิลปะหลุดออกไปจากความสวยงามและงานฝีมือแบบเดิมๆ และกลุ่มแอ็คชัน (Action) อีฟ แคลง (Yves Klein) ใช้ผู้หญิงเปลือยตัวที่ละเลงสีน้ำเงินบนร่างกายแล้วไปเกลือกกลิ่งบนผืนผ้าที่ขึงกางอยู่บนพื้นห้อง
ส่วนศิลปินที่ทำงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะเชิงแนวคิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง คือ คริสโต (Jarachef Cristo) ใช้คอนเซ็ป เรื่องการห่อ (package) โดยใช้วัสดุต่างๆ ที่สามารถห่อได้มาใช้ห่อ โดยมีหลักคิดในการสร้างว่า สิ่งที่ถูกปิดบังอำพรางไว้จะก่อให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ และคนต่อมา ออง คาวารา (On Kawara) ทำงานชุด “ฉันตื่นแล้ว” คาวาราจะส่งไปรษณียบัตรถึงเพื่อนและคนรู้จักเป็นจำนวนสองฉบับทุกๆ วัน ด้านหลังไปรณียบัตรประทับตราว่า “ฉันตื่นแล้ว” ไว้พร้อมลงวันที่ ผลงานชิ้นนี้คาราวาต้องการสื่อสารถึงช่วงเวลาแห่งสติ
![]() |
ตัวอย่างงาน conceptual art |
![]() |
ตัวอย่างงาน conceptual art |
![]() |
งาน conceptual art ของ Yoko Ono |
![]() |
ตัวอย่างงาน conceptual art ผลงานของ Marcel Duchamp ศิลปินชาวฝรั่งเศส |
![]() |
ตัวอย่างภาพวาดที่เป็นงาน conceptual art |