![]() |
งาน graphic drawing ของ Zaha Hadid ที่ใช้เส้นสายในการสื่อข้อมูล |
ผู้เขียนได้อ่านหนังสือด้านดีไซน์ หรือสถาปัตยกรรมและรู้สึกว่า กราฟฟิก มีความจำเป็นอย่างมากในการสร้างสื่อ นำเสนอข้อมูลในยุคปัจจุบัน รูปแบบสื่อมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำด้วยมือ คอมพิวเตอร์ ภาพถ่าย หรือแม้กระทั่งตัวอักษร มันมีความสำคัญอย่างมากในยุคสังคมที่เริ่มหันมาสนใจด้านดีไซน์มากขึ้น เราคิดว่างานกราฟฟิกมีเอกลักษณ์ มีความเท่เฉพาะตัว เป็นทั้งศิลปะและตัวสื่อสารข้อมูล
ปัจจุบันกราฟฟิกเป็นศิลปะอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการนำเสนอโดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ อย่างการแสดงถึงพื้นผิว (surface) โดยแสดงบนกระดาษ ผืนผ้าใบ ผนัง และปัจจุบันมีการทำกราฟฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีโปรแกรมด้านดีไซน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก อย่างเช่น Photoshop ,Illustrator, Indesign, 3d-max แต่ไม่ว่าจะแสดงรูปแบบใดประเด็นสำคัญอยู่ที่การนำเสนอ ข้อมูลต่างๆให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งเราเรียกกราฟฟิกเป็นงานศิลปะ และเป็นศิลปะที่นิยมมากในสังคมเมือง หรือสังคมที่มีการสื่อสาร คมนาคม
![]() |
Inforgraphic กรุงเทพหายใจไม่ออก รูปแบบกราฟฟิกข้อมูลที่แสดงโดย ใช้รูปภาพ และคำอธิบาย |
![]() |
รูปแบบกราฟฟิกตัวอักษร ที่ใช้การจัดวางตัวอักษรและการใช้สี |
![]() |
graphic บนผนัง งานศิลปะในประเทศญี่ปุ่น |
คำว่า graphic แน่นอนว่าต้องแสดงในรูปแบบเส้นกราฟ เป็นเส้นสาย มีรูปแบบการจัดวาง มีองค์ประกอบ อาจใช้รูปแบบเรขาคณิต รูปแบบของเส้นที่แสดงความเชื่อมโยง หรือแสดงโดยภาพถ่าย พูดง่ายๆนั่นคือ ใช้หลักการทางศิลปะมาใช้โดยเสนอในรูปแบบลายเส้นของศิลปินหรือบุคคลที่สร้างสรรค์ผลงาน มันบ่งบอกบุคลิก สไตล์ หรือบอกถึงสังคม วัฒนธรรมในช่วงนั้น
![]() |
graphic ของนิตยสารแฟชั่น ที่ใช้ภาพถ่าย และการใช้ สีพื้นหลังที่เป็นสีขาว เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับ นางแบบ |
graphic ในหนังสือสถาปัตยกรรม ที่ใช้ภาพทาง และใช้สัญลักษณ์ คำพูดในการแสดงข้อมูล |
![]() |
รูปแบบ graphic ของภาพยนต์ในยุค 60 โดยใช้สีชมพู ที่สื่อถึงผู้หญิง ความอ่อนโยน ไร้เดียงสา และการ ใช้ font ตัวอักษรที่มีขนาดแตกต่างตามความสำคัญ |
![]() |
โปสเตอร์หนังที่ใช้สีภาพโทนเหลือง โดยสีเหลืองสื่อถึงความหวัง การเริ่มต้น อิสระ |
![]() |
การใช้โทนสี ผิวสัมผัสในการสื่อถึงคุณสมบัติของสินค้า |
![]() |
การใช้โทนสี ผิวสัมผัสในการสื่อถึงคุณสมบัติของสินค้า |
![]() |
graphic ที่สื่อถึงวัฒนธรรม |
จริงๆเราแทบจะเห็นงาน graphic อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะป้ายโฆษณา หนังสือนิตยสาร สัญลักษณ์ของแบรนเนม แผ่นโปสเตอร์หนัง เราเสพมันโดยเราอาจไม่รู้ตัว และบางครั้งเราหลงใหลกับมัน(โดยไม่รู้ตัว)