ต่อไปมาพูดถึงหลักทฤษฏี แนวคิดของ Rem Koolhaas ว่ามีหลักในการออกแบบอย่างไร

Rem Koolhaas กับนิทรรศการเกี่ยวกับความคิดของเขา
ที่ นิทรรศการ the Cronocaos

ลักษณะสำคัญในงานสถาปัตยกรรมของ Koolhaas คือ ใช้การสอบถาม ข้อมูล ในโปรแกรมนั้นๆ มันเป็นการเพิ่มความคิดรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 20 และการเป็นรูปแบบสำคัญของการออกแบบสถาปัตยกรรม ความคิดแบบนี้มันเกี่ยวเนื่องกับ “การกระทำเพื่อตอบสนองการใช้งานและกิจกรรมของมนุษย์”(an act to edit function and human activities) ซึ่งมันเป็นหลักในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม หลักฟังก์ชันนี้เป็นที่นิยมโดยสถาปนิก Louis Sullivan เป็นผู้เริ่มต้นใช้ในช่วงศตวรรษที่ 20

Louis Sullivan สถาปนิกชาวอเมริกัน หรือรู้จักกันใน
“เจ้าพ่อตึกระฟ้า”(father of skyscrapers)

ความคิดของเขาได้ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกในหนังสือ Delirious New York เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมขั้นสูงที่แมนฮัตตัน วิธีการออกแบบขั้นต้นมาจากความคิด “cross-programming” เป็นการแนะนำฟังก์ชันที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนคือใช้แทร็คหรือลู่วิ่งในตึกระฟ้า และเมื่อปี 2003 เขาได้เสนอความคิดว่า ให้รวมหน่วยงานของโรงพยาบาลเพื่อเป็นแหล่งที่พักเข้าไปในโครงการการของ Seattle Central Library แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

หนังสือ Delirious New York
Seattle Central Library

Seattle Central Library เป็นห้องสมุดสาธารณะมี 11 ชั้น มีความสูงประมาณ 56 เมตร ใช้เหล็กและกระจกในการก่อสร้าง โดยห้องสมุดนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Seattle กรุงวอชิงตัน Rem Koolhaas และ
Joshua Prince-Ramus ร่วมกันออกแบบ โดยห้องสมุดนี้สามารถบรรจุหนังสือได้ถึง 1.45ล้านเล่ม ตัวอาคารมีที่จอดรถใต้ดิน สามารถจอดรถได้ 143 คัน ภายในยังมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 400 เครื่อง(น่าเข้าไปใช้บริการ555) ในปีแรกๆที่เปิดทำการมีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากว่า 2 ล้านคนทีเดียว แต่ความจริงแล้วสถานที่ตั้งตรงนี้ย้อนกลับไปปีช่วงอดีตละกัน จริงๆก่อนจะมีห้องสมุดรูปร่างแบบนี้มันเคยเป็นห้องสมุดมาก่อนหน้านี้แล้ว ที่มีการรื้อ สร้างแล้วสร้างอีกถึง 3-4 ครั้ง

The Carnegie Library ห้องสมุดแรกๆ

The Camegie Library เริ่มเปิดทำการเมื่อปี 1960 ออกแบบโดย  Peter J. Weber โดย Andrew Carnegie เป็นผู้อุปถัมภ์ในโครงการครั้งนี้ โดยบริจาคเงินประมาณ 200,000 ดอลลาร์เป็นงบในการก่อสร้าง โดยห้องสมุดนี้มีพื้นที่ 55,000 ตารางฟุต (หรือ 5,100 ตารางเมตร) ไปไปมามาห้องสมุดมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับหนังสือและผู้คนที่เข้ามา จึงต้องสร้างใหม่อีกให้มีขนาดใหญ่เป็น2เท่า
เอาล่ะย้อนกลับมาปัจจุบันต่อนะ(เดี๋ยวยาวเกิน) สองสถาปนิกได้ออกแบบห้องสมุด  Seattle Central Library เพื่อเป็นการฉลองให้กับหนังสือ(หนังสือเยอะมาก) พวกเขาจึงทำการวิจัย ศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนถึงศตวรรษที่ 21 และยุคดิจิตอล

“ผู้คนยังมีการตอบสนองต่อสื่อบนกระดาษหนังสือพิมพ์”

พวกเขาตั้งใจที่จะออกแบบห้องสมุดในรูปแบบเชื้อเชิญผู้คนให้เข้ามาใช้มากกว่าให้ความรู้สึกอุดอู้ พวกเขายังพบว่าการรับรู้สัมผัสของผู้คนมีผลต่อห้องสมุดทั้งหมด

แม้ว่ารูปร่างภายนอกของห้องสมุดเป็นรูปร่างแปลกประหลาด แต่พวกเขาใช้หลักปรัชญา(philosophy) คือ ฟังก์ชันจะเป็นตัวกำหนดลักษณะ ตัวโครงสร้าง สามารถทำงานเต็มที่ตามลักษณะฟังก์ชันนั้นๆ

ลักษณะโครงสร้างของส่วนต่างๆ
ลักษณะภายใน
ลักษณะภายใน

ยกตัวอย่างส่วนที่สำคัญของอาคารอย่าง ” ชั้นวางหนังสือ” (ออกแบบเพื่อรวบรวมและโชว์หนังสือ โดยจะเขียนหมายเลขหนังสือหมวดหมู่ไว้ตรงพื้น) เราว่าก็ดีนะ ปกติเราจะเห็นตัวเลขติดไว้ข้างตู้ แต่นี่บนพื้นใหญ่ๆเด่นๆไปเลย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองกับผู้ใช้ คุณไม่จำเป็นต้องเดินจนทั่วเพื่อหาหนังสือหมวดหมู่นี้อยู่ตรงไหน หรือปีนบันไดเพื่อหาหนังสือ

ลักษณะการจัดวางหมวดหมู่หนังสือ โดยมีหมายเลขบนพื้น
ตัวเลขบนพื้นขนาดใหญ่ บอกทิศทาง

ภายในยังมีฟังก์ชันใหม่ๆอย่าง การเรียงลำดับหนังสืออัตโนมัติ หรือเครื่องชำระเงินอัตโนมัติสำหรับลูกค้า
ความคิดเห็นของนักวิจารณ์งานสถาปัตยกรรมและประชาชนทั่วไปมีความคิดหลากหลาย แต่เรื่องรูปฟอร์มอาคารคนจะชอบน้อยกว่าเรื่องของฟังก์ชัน

Paul Goldberger ได้เขียนลงใน The New Yorker ว่า  Seattle Central Library  “เป็นห้องสมุดสำคัญที่สุดในยุคสมัยใหม่ที่ทำให้รู้สึกสบายใจที่สุด”( “the most important new library to be built in a generation, and the most exhilarating.”) นอกจากนี้ห้องสมุดแห่งนี้ บริษัทวิศวกรรมอย่าง The American Council of Engineering Companies (ACEC) ได้รับรางวัลแพลตินัม(Platinum Award) ในวิธีการแก้ปํญหาโครงสร้าง และห้องสมุดยังได้รับรางวัลnational AIA Honor Award ในด้านสถาปัตยกรรมในปี 2005

ต่อไปเรามาดูสื่อสิ่งพิมพ์ของ Rem Koolhaas กันบ้าง Koolhaas ถือได้ว่าเป็นทั้งนักเขียน สถาปนิก หนังสือของเขามีชื่อว่า S,M,L,XL (ชื่อเหมือนขนาดเสื้อผ้าเลยเนอะ)

โฉมหน้าหนังสือ S,M,L,XL
Bruce Mau นักออกแบบชาวแคนาดา

หนังสือเล่มนี้เขาร่วมทำกับ Bruce Mau, Jennifer Sigler และ Hans Werlemann เป็นบทความมีทั้งหมด 1376 หน้า ภายในเป็นเนื้อหาแบบไดอารี่ สารคดี แนวภาพยนต์ สมาธิ เกี่ยวกับเมือง สถาปัตยกรรมร่วมสมัย หนังสือเล่มนี้มันเปลี่ยนรูปแบบหนังสือสถาปัตยกรรม มันมีรูปเล่มขนาดใหญ่และหนามาก ปกติหนังสือสถาปัตยกรรมมันจะมีภาพ ภาพสวยๆ แปลน รูปด้านรูปตัด บรรยาย แต่ S,M,L,Xl มาในรูปแบบเล่าเรื่อง เหมือนประสบการณ์  ภายในเต็มไปด้วยสีสันgraphic สวยงาม อัดแน่นไปด้วยข้อมูลมีความละเอียดมาก(เห็นหนังสือก็รู้แล้วล่ะ)

ติดตามเรื่องต่ออีกตอนหน้า

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here