SANAA  2 สถาปนิกชาวญี่ปุ่น : ซ้าย : Ryue Nishizawa , ขวา : Kazuyo Sejima

มาดูงานสะอาดๆ คลีนๆ เรียบง่ายกันบ้าง ช่วงนี้เป็นอะไรไม่รู้ รู้สึกจะชอบงานสไตล์นี้ ซึ่งสถาปนิกที่มีผลงานสไตล์ simplicity ในยุคปัจจุบันที่น่าสนใจ ก็คงเป็น 2 สถาปนิกชาวญี่ปุ่น แห่งบริษัท SANAA ประกอบด้วย Kazuyo Sejima และ Ryue Nishizawa ผลงานของพวกเขาจะดูเรียบง่าย สะอาด องค์ประกอบไม่มาก รูปฟอร์มอาคารเป็นรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน อย่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และใช้ความเป็นสีขาว กระจกในการออกแบบอาคาร ที่สำคัญพวกเขาเพิ่งได้รับรางวัล pritzker เมื่อปี 2010 นี้เอง

Zollverein School of Management and Design
(Essen/Germany) by SANAA

SANAA ประกอบด้วย Sejima และ Nishisawa พวกเขาเริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 1995 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้ Sejima เคยเป็นผู้ช่วยสถาปนิกชื่อดังอย่าง Toyo Ito สถาปนิกที่มีผลงานการออกแบบอาคารแนว conceptual

Toyo Ito สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานออกแบบอาคาร
แนว conceptual มีแนวคิดที่แหวกแนว


การที่ sejima ได้ทำงานกับ Toyo Ito ทำให้เธอได้แนวความคิด กระบวนการจาก Toyo Ito ในด้านการออกแบบ โดยรูปแบบงานของ sejima มีความเรียบง่าย มีสัดส่วนชัดเจน เธอมักจะใช้รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานในการออกแบบ โดยเฉพาะรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส (square) และทรงลูกบาศก์ (cube) และมักใช้หน้าต่างขนาดใหญ่ (large window) เน้นให้แสงธรรมชาติ (natural light) เข้ามายังตัวอาคาร ใช้วัสดุน้อยชิ้น งานส่วนใหญ่ของเธอจะใช้ กระจก เหล็ก และการสร้างพื้นผิวให้มีความมันวาว

Small House ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่รวม 60 ตารางเมตร
เพื่อให้สามาถใช้พื้นที่ใช้สอยมากที่สุด แต่ละชั้นจะมีฟังก์ชันเดียว ส่วนชั้น
ใต้ดินจะเป็นห้องนอน และห้องนำ้ที่ใช้ได้ทั้งครอบครัว
Shibaura House, Tokyo, Japan
louvre-lens พิพิธภัณฑ์ศิลปะตั้งอยู่ในย่านอุตสาหกรรมของประเทศฝรั่งเศส
มีพื้นที่รวมทั้งหมด 28,000 ตร.ม. อาคารมีรูปทรงสี่เหลี่ยม ผนังเป็นสีขาวทั้งหมด


เธอเริ่มก่อตั้งบริษัทของตัวเองในปี 1987 ตอนนั้นใช้ชื่อบริษัทว่า Kazuyo Sejima and Associates เธอบอกว่าตอนนั้น  Nishizawa ยังเป็นนักศึกษา มาช่วยงานบ้างเป็นบางครั้ง เคยเป็นลูกมือสมัยตอนที่ทำงานกับ Toyo Ito  เมื่อ Nishizawa เรียนจบเขาคิดจะเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง Sejima จึงได้ชวนให้เขามาทำงานร่วมกัน  และตั้งชื่อบริษัทใหม่ว่า SANAA  ในปี 1995 หลังจากตั้งบริษัทพวกเขาก็มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงาน scale ใหญ่อย่างพิพิธภัณฑ์ หรืองานขนาดเล็กอย่างงานตกแต่งภายใน บ้าน หรือร้านค้า ซึ่งเราจะมาดูงานที่น่าสนใจของ SANAA ที่ทำาให้พวกเขามีชื่อเสียงระดับโลก

New Art Museum , New York

New Art Museum , New York

 

Sejima kazuyo กับโมเดลจำลอง

New Art Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดงานศิลปะแนวอินดี้ ตั้งอยู่บนถนนบอร์ดเวย์, กรุงนิวยอร์ก ตัวอาคารเป็นลัษณะกล่องขนาดต่างๆเจ็ดกล่องซ้อนสลับกันไปมา โครงการนี้เกิดขึ้นมาจาก Marcia Tucker ได้ถูกไล่ออกจากพิพิธภัณฑ์ Whitney Museum of American Art เธอจึงคิดที่จะตั้งพิพิธภัณฑ์ของตัวเองขึ้น โดยเลือกไซด์ตั้งอยู่บนถนนบอร์ดเวย์ ซึ่งลักษณะสถาปัตยกรรมในถนนบอร์ดเวย์มีความหยาบ นั่นคืออาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่มีสีขาว แต่จะเป็นอาคารที่สร้างจากอิฐและ brownstone ไม่มีอาคารโมเดิร์นหรือสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของหน้าตาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่ง Tucker ได้หาสถาปนิกมากมายจนได้ SANAA  2 สถาปนิกจากดินแดนอาทิตย์อุทัย

ซ้าย : Marcia Tucker  ขวา: Whitney Museum of American Art



ลักษณะของถนนบอร์ดเวย์ อาคารส่วนใหญ่จะใช้
อิฐและ brownstone
ลักษณะพื้นที่ไซด์ที่มีพื้นที่แคบ/ขั้นตอนการก่อสร้าง


                     พวกเขาออกแบบให้อาคารเป็นสีขาวทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า(ข้อมูลจาก  http://www.airoots.org/) สีขาวทำให้ตัวสถาปัตยกรรมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (homogeneous) กับสถานที่และมีความเชื่อมโยง โดย Sejima ได้บอกว่า สีขาวมีความสัมพันธ์อย่างมากในการวางแปลนและจัดพื้นที่ว่าง และในแง่การออกแบบสีขาวทำงานได้ดีกว่าสีอื่นๆ และเธอได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผนัง พื้น และหลังคาว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพื้นและผนังนั้นง่าย แต่หลังคานั้นมีความยาก หลังคาไม่ควรจะซ่อนหรือโดนบดบัง มันไม่ได้เป็นเพียงพื้นผิว (surface) เท่านั้น แต่ต้องมีหลักฟังก์ชันที่ชัดเจน บางครั้งเราพยายามที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างพื้น,ผนัง และหลังคาอย่างชัดเจน และบางครั้งเราพยายามสร้างพวกเขา(พื้น ผนัง หลังคา) มีพื้นผิวที่มีความต่อเนื่องกันทั้งหมด 

New Museum กับบริบทอาคารในถนนบอร์ดเวย์

                   Nishisawa ยังกล่าวอีกว่า เรามักจะคิดถึงความต่อเนื่องระหว่างพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอก เรามองขอบเขตของโครงการนอกเหนือจากอาคาร ซึ่งเราไม่เพียงแค่ออกแบบอาคารเท่านั้น แต่เรายังสร้างให้อาคารมีความสัมพันธ์กับเมือง ตัวอาคารจะเปิดสู่พื้นที่ภายนอก  New Museum ถือเป็นโปรเจคที่ยาก โดยความยากตรงที่ตัวพิพิธภัณฑ์จะต้องเปิดออกสู่พื้นที่ภายนอก และผนังภายในเป็นผนังปิดล้อมเพื่อติดตั้งภาพวาด แต่จุดเด่นมากๆของ New Museum คืออาคารตั้งอยู่ใจกลางเมือง มันไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองอย่างพิพิธภัณฑ์หลายๆแห่ง นอกจากนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่จัดแสดงงานศิลปะคลาสสิก (Classical Art) แต่มันมีความเป็นศิลปะร่วมสมัย (Contemporary) และเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเขาต้องตั้งพิพิธภัณฑ์อยู่ใจกลางเมือง ดังนั้นคำถามของพวกเราคือ จะทำอย่างไรให้ตัวพิพิธภัณฑ์มีการเปิดในสภาพบริบทแบบนี้ 

ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์จะเปิดพื้นที่ภายในสู่พื้นที่ภายนอก
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวอาคารและบริบทภายนอก

 

                       ดังนั้นการแก้ปัญหาของพวกเราคือ เราจะเปิดพื้นที่ชั้นล่าง ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาสามารถเข้าออกได้สะดวก และยังสามารถเข้ามาร้านกาแฟหรือศูนย์หนังสือได้
                  พวกเขายังบอกว่า แนวความคิดในการออกแบบพิพิธภัณฑ์คือ การขยับกล่อง (shifting box) ซึ่งแนวความคิดนี้จะช่วยให้เราสามารถสร้างเส้นขอบฟ้า (skyline)ได้  โดยตัว shifting box จะสร้างลานระเบียง (terraces) ให้ผู้คนสามารถเข้าออกกลางอาคาร และตัวพิพิธภัณฑ์ในแต่ละชั้นมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน โดยระดับพื้นชั้นล่างจะมีความยุ่งยาก (messy) ในการเชื่อมโยงผู้คนบนท้องถนน และถ้ามองจากด้านบน เราจะสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้าของกรุงนิวยอร์กและตึก Chrysler ได้

CHRYSLER BUILDING





แน่นอน! ลูกค้าต้องการผนังไว้สำหรับแสดงงานศิลปะ แต่เราก็ต้องการหน้าต่างเพราะว่ามุมมองมีความน่าสนใจมาก รูปแบบฟอร์มอาคารมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วงหลัง เนื่องจากตัวโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงแรกพื้นที่ส่วนสำนักงานจะอยู่ชั้นล่าง พื้นที่สำนักงานเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ ผู้เข้าชมสามารถเห็นพนักงาน แต่ท้ายสุดชั้นแรกกลายเป็นพื้นที่แกลอรีแล้วส่วนของสำนักงานจะอยู่ชั้นบนสุด โดยแกลอรีชั้นแรกผู้คนมองเห็นได้จากโซน cafe และผู้คนบนท้องถนนสามารถมองเห็นงานศิลปะภายในได้

SECTION แสดงโซนต่างๆของพิพิธภัณฑ์







New Museum มีความสูง 175 ฟุตจากระดับพื้นถนน หน้าตาของพิพิธภัณฑ์มีความเรียบง่าย พวกเขาใช้วัสดุอย่าง Corrugated stainless steel ที่ชั้นใน และAnodized alumimum mesh ชั้นนอก





            การสร้างฟอร์มอาคารเป็นลักษณะกล่องเจ็ดชั้นซ้อนกันสลับไปมาทำให้เกิดช่องแสงธรรมชาติ ถึงแม้จะมีช่องแสงน้อยก็ตาม และตัวอาคารดูไม่ทึบตันไปกับไซด์ทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้า พื้นที่ว่างภายในออกแบบให้ไม่เห็นโครงสร้างของเสา งานระบบต่างๆ เพื่อการใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความยืดหยุ่น

ลักษณะภายในพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เห็นตัวโครงสร้างเสา เพื่อทำให้ใช้
พื้นที่ว่างได้อย่างเต็มที่

 

ลักษณะของอลูมิเนียมที่หุ้มอาคาร




ลักษณะตัวอาคารในช่วงกลางคืน การสร้างกล่องวางซ้อน
ไปมา ทำให้เกิดช่องแสงขึ้นทำให้อาคารไม่ทึบตันจนเกินไป
และสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้าในเมืองนิวยอร์กได้
2 สถาปนิกกับบริเวณ terrace ของพิพิธภัณฑ์




                    จากการออกแบบของ Sejima เธอต้องการให้ตัวพิพิธภัณฑ์นั้นมีลักษณะเป็นเพื่อนบ้านคือ ไม่ทำให้เด่นกว่าอาคารข้างเคียงหรือเหมือนกับอาคารรอบๆเกินไปนัก แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมบริบทให้ดีขึ้น มีความน่าสนใจ
แนวคิดแบบ simplicity แบบญี่ปุ่นทำให้เป็นที่สนใจแก่ชาวต่างชาติที่ส่วนใหญ่จะมีแนวคิดต้องเด่น แหวกแนว ซึ่งพออาคารที่มีความเรียบง่ายเหมือนไม่ได้ทำอะไรเลยมาตั้งอยู่ในเมืองที่หยาบ ไม่มีอาคารสีขาว จึงสร้างความโดดเด่นให้กับตัวพิพิธภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี

หากใครชอบงานแนว simplicity หรืองานของ SANAA มีหนังสือที่น่าสนใจรวบรวมผลงานและบทสัมภาษณ์ของ SANAA หาได้ตามห้องสมุด(สถาปัตย์) หรือร้านหนังสือ ASIA BOOK หนังสือหนามาก ข้อมูลแน่น ภาพสีทั้งเล่ม

หนังสือ croquis SANAA

สนใจข้อมูลต่างๆของ New Museum คลิกที่ http://www.newmuseum.org/building

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here