Tadao Ando

บทความนี้มาจากหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ Tddao Ando โดยพูดถึงกระบวนการ แนวคิด การทำงานของ Ando และเล่าถึงการสอนนักเรียนในแบบAndo ผู้เขียนเลือกตอนที่น่าสนใจมาบางตอน ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ที่จะได้เรียนรู้แนวคิดของสถาปนิก

หนังสือ Tadao Ando
The Yale studio & Current Works

The Ando Studio at Yale University โดย George T. Kunihiro
ช่วงที่ผ่านพ้นยุคโมเดิร์น แล้วยุค Post Modern เข้ามาแทนที่ ยุคนี้สถาปัตยกรรมมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสถาปนิกชั้นนำมากมาย แต่ในช่วงหลังปี 1978 the Institute of Architecture and Urban ในกรุงนิวยอร์กได้แสดงงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นร่วมสมัยในหัวข้อ “A New Wave of Japanese Architecture” โดยมีการเลกเชอร์และจัดนิทรรศการของสถาปนิกที่หัวก้าวหน้าของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญมากในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ทางสหรัฐอเมริกามีความตั้งใจที่จะศึกษางานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น

การประชุมด้านสถาปัตยกรรมในเดือนพฤศจิกายน ในปี 1986 Thomas H. Beebe คณบดีของ the Yale School of Architecture ได้เชิญ Ando มาพูดที่ Yale มีคำพูดของ Ando ที่พูดไว้ก่อนจะถึงมื้อเย็นที่ the Som foundation ว่า “มันต้องแปลกมากแน่ๆที่ให้คนจบมัธยมปลายจากญี่ปุ่นอย่างผมมาสอนนักศึกษาของ the Ivy League ในอเมริกา” ในตอนนั้นเองผมได้ถาม Thomas H. Beebe ในการสนับสนุนAndo ซึ่งท่านได้บอกว่า “เป็นการวิจารณ์งานสถาปัตยกรรม ฉะนั้นผมเห็นว่ามันจะเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจในมหาวิทยาลัยในช่วงฤดูใบไม้ร่วง”

Yale University

Architectural Education in Japan and the U.S. การศึกษาสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นและอเมริกา
              ผมอยากแสดงความคิดของผมเพียงสั้นๆถึงข้อแตกต่างในการเรียนรู้ของ Ando และการศึกษาในโรงเรียนสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นรวมถึงที่สหรัฐอเมริกาด้วย ซึ่งการศึกษาสถาปัตยกรรมที่อเมริกาจะใช้ระบบ Studio System อเมริกาจะสอนนักเรียนในการสร้างแนวความคิดและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนตามหลักทฤษฎีและฝึกวินัย แม้ว่าจะมีการเชิญสถาปนิกรุ่นใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จมาพูดในการทำโปรเจคให้ฟัง แต่นักเรียนส่วนใหญ่ของที่นี่จะศึกษาถึงกระบวนการออกแบบ (Design Process) ระบบจูรี่ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดด้วยการพูดและการทำกราฟิก

ในญี่ปุ่น นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการโต้แย้งอะไรมากนักในระบบจูรี่ ในช่วงเริ่มต้นการศึกษาจะมีการวิจารณ์งานแบบ one-to-one ซึ่งนักเรียนแต่ละคนจะไปพัฒนางานออกแบบตามปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละคน ในช่วงปลายเทอมในการออกแบบโปรเจคมีเพียงส่งงานและให้คะแนนโดยอาจารย์

ในทางตรงกันข้าม โรงเรียนสถาปัตยกรรมของอเมริกาสนับสนุนให้นักเรียนสามารถโต้แย้งกับอาจารย์ได้ นักเรียนจะมีประเด็นของตัวเองในการโต้แย้ง ส่วนระบบของญี่ปุ่นจะฝึกในเรื่องของกระบวนการคิดของแต่ละคน ให้ความสำคัญทางด้านกราฟิกมากกว่าอเมริกาที่ฝึกพูดและฝึกกราฟฟิกในการนำเสนองาน การเปรียบเทียบการศึกษาของสองประเทศ นักเรียนญี่ปุ่นที่ได้มาศึกษาที่อเมริกามีความมุ่งมั่นทำตามหลักทฤษฎี สถาปนิกญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ถ้านักเรียนสถาปัตย์เรียนรู้กระบวนการออกแบบ ควรจะเรียนรู้ด้านกระบวนการออกแบบเพราะเป็นวิธีการในการทำงานในสำนักงาน

The Program

Arts & Architecture Building โดย
Paul Rudolph


                โปรเจคงานออกแบบในสตูดิโอของ Ando “The Museum of Modern Architecture”  ซึ่งดัดแปลงมาจากงานสถาปัตยกรรมของ Paul Rudolph ตัวไซต์ Ando ตั้งใจให้ปัญหานี้โดยเขาเรียกว่า nutrition เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เฉพาะ โดยเขาให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของสถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น

สาเหตุที่ Ando เลือก Art&Architecture Building เพราะว่ามันเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นประเด็นที่สำคัญในการรับรู้การเคลื่อนไหวของยุคโมเดิร์น และตัวอาคารสร้างความประทับใจให้กับเขาเป็นอย่างมากตอนที่เขามาเยี่ยมชมที่นี่เป็นครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน

The Class ห้องเรียน

Japanese Architecture
“Sukiya Style”


                  ในห้องเรียนเริ่มต้นด้วยการบรรยายของ Ando เรื่อง “Design Process of Tadao Ando” ที่พูดถึงวิธีการออกแบบและแนวความคิดในมุมมองของเขา อย่างหัวข้อ “Architecture in the Age of Modernism” โดย Ando จะพูดถึงมุมมองสถาปัตยกรรมโดยยกตัวอย่างงานของ Le Corbusier, Mies Van der Rohe และสถาปนิกในยุคโมเดิร์นอื่นๆ

 “Sukiya and Japanese Architecture” คือสิ่งที่ Ando พูดถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการทำงานของเขา และเขาพูดถึง “Self-Educating Journeys” หรือเรียนรู้สิ่งต่างๆจากการออกเดินทาง เขาเลือกงานทางประวัติศาสตร์จากทั่วโลกที่เขาได้ไปเที่ยวมา และพูดคุยถึงที่มาของแรงบันดาลใจของเขา นอกจากนี้ Ando มีการบรรยายช่วงพิเศษในหัวข้อ “Dream and Reality” เขาพยายามเน้นความสำคัญของตรรกะและหลักฟังก์ชันสมัยใหม่ คำว่า rationalism ถือเป็นศัพท์ใหม่สำหรับยุคปัจจุบัน

The Studio Process

Chichu art museum
โดย Tadao Ando



                    ที่สตูดิโอมีการนัดพบสองวันต่อสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา Ando จะพูดคุยกับนักเรียนและพูดถึงไอเดียทุกๆสัปดาห์ Ando ให้ความช่วยเหลือและพูดสื่อสารกับนักเรียนในเรื่องแนวคิด Ando มีความตั้งใจที่จะสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกับนักเรียนให้มากที่สุด

หนังสือ The book of tea
โดย Kakuzo Okakura
หนังสือ  In Parise of shadow

ในหลายสัปดาห์ Ando จะเลกเชอร์ถึงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและบริบททางประวัติศาสตร์ และได้แนะนำข้อมูลจากการอ่านอย่างหนังสือ The book of tea โดย Kakuzo Okakura , หนังสือ the first book about Japanese culture และหนังสือ In Parise of shadow โดย Junichiro Tanizaki  ที่พูดถึงความงามของแสงธรรมชาติ

นักเรียนเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์โปรแกรมและพัฒนาแนวความคิดของพวกเขา Ando ใช้เวลาหลายวันและช่วงเย็นคุยกับนักเรียน เขามีความกระตือรือร้นและให้กำลังใจกับนักเรียนในการค้นพบเส้นทางของพวกเขา แต่ Ando ไม่สนใจหรือไม่แยแสในสิ่งที่เขาเรียกว่า “ดีไซน์” เขารู้สึกว่ามันเป็นความรับผิดชอบของเขาที่ต้องสอนนักเรียนในเรื่่อง design process ไม่ใช่ดีไซน์เฉยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาจะพูดคุยถึงแนวคิดของแต่ละคนและพูดถึงวิธีการที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป แทนที่จะมานั่งถกหรือวิจารณ์เรื่องสัดส่วน หรือพูดเรื่องรูปด้านรูปตัด การพูดคุยเรื่อง design process ของเขาจะเล่าถึงแนวคิดที่เขาได้รับมาจาก festival building ที่โอกินาวา โดยการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ แต่เขาไม่ส่งเสริมให้นักเรียนเลียนแบบรูปแบบฟอร์มที่ได้รับอิทธิพลหรือรับรู้เพียงผิวเผิน

The Jury

ผลงาน Peter Eisenman



                   ที่สตูดิโอจะมีการจูรี่สองครั้ง รูปแบบเป็นกันเองสบายๆมีการแสดงความคิดเห็นเพียงในคณะเท่านั้น ในการจูรี่ครั้งนี้ Ando ยังได้เชิญ Peter Eisenman และ Kunio Kudo ในการจูรี่ครั้งที่สอง ครัังนี้จะมีการวิเคราะห์ถึงปัญหาและความสัมพันธ์ของโปรเจคที่ Ando ได้ตั้งไว้ และวิเคราะห์ถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น Andoแสดงความคิดเห็นของเขาต่องานของนักเรียนน้อยที่สุด เพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดของพวกเขาโดยตรง แต่เขาพูดปิดท้ายกับนักเรียนว่า “พวกคุณควรทำหน้าที่ของคุณอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อความก้าวหน้าของสถาปัตยกรรมในระดับสากล ไม่เพียงแต่ในระดับประเทศเท่านั้น”

วันต่อมาเป็นวันที่ Ando ต้องเดินทางกลับ ผมได้เข้าไปถาม Ando ว่า “ทำไมคุณถึงเลือกบุคคลเหล่านี้มาเป็นกรรมการในการจูรี่ครั้งนี้” Ando ตอบว่า “แม้ว่าแต่ละคนจะมีทิศทางของตัวเองในแง่แนวคิดและตัวโครงการ แต่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่สนใจสถาปนิกเหล่านี้ ในขณะที่พวกเรายังมีความมุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้ยุคสมัยมีการเคลื่อนไหวต่อไป”

สรุปบทความนี้จึงบอกถึงวิธีการคิด ทัศนคติของ Tadao Ando ที่มีต่อสถาปัตยกรรม และรูปแบบการสอนนักเรียนของ Ando ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาต่อไปได้และเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆและก้าวพัฒนาต่อไป

 

1 COMMENT

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here