Paolo Soleri

ระยะทาง 70 ไมล์ทางตอนเหนือของ Phoenix ในศูนย์กลาง Arizona เป็นสถานที่ตั้งเมืองที่สร้างสิ่งทดลองที่ออกแบบโดย Paolo Soleri  สิ่งก่อสร้างอย่าง Arcosanti เป็นที่ที่ไว้ศึกษาหลักการแนวคิด Arcology เป็นความตั้งใจของชุมชนที่ใช้สร้างความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

หนึ่งในนักคิดนัดจินตนาการ Paolo Soleri เขาได้อุทิศชีวิตของเขาศึกษาด้านนิเวศวิทยา (ecological )และทางด้านสังคม (social) ที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองยุคปัจจุบัน เขาประสบความสำเร็จในด้านงานสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง รวมทั้งงานเขียนทางด้านปรัชญาอย่าง Arcology (หลักของสถาปัตยกรรมและนิเวศวิทยา)

จากวิดีโอ คือ Arcosanti เป็นห้องแลปปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมการออกแบบ (innovative design) ด้านชุมชน(community) และการตรวจสอบทางด้านสิ่งแวดล้อม (environmental accountability) จุดประสงค์ของการสร้างคือ การดำเนินการอย่างแข็งขันในการแก้ปัญหาด้านชุมชนเมืองตามหลักทฤษฎีของ  Paolo Soleri คือ Arcology (สถาปัตยกรรม+นิเวศวิทยา)

Arcosanti ถูกสร้างขึ้นจากทีมอาสาสมัครเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้ผู้คนทำงาน พักอาศัย เข้ามาเยี่ยมชม และฝึกอบรมปฏิบัติการ ซึ่งในขั้นตอนปัจจุบันของการก่อสร้าง Arcosanti ประกอบไปด้วยอาคารอเนกประสงค์ พื้นที่สาธารณะ (public spaces) ที่สร้างขึ้นโดยคนกว่า 6,000 คนที่ได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ

Arcosanti
Alfonso Elia

Paolo Soleri เกิดในปี 1919 ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี Soleri ใช้เวลาหลายปีในยุโรปศึกษาและซึมซับด้านภูมิทัศน์ (landscape) วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม เขาได้รับปริญญาเอกด้านสถาปัตยกรรมจาก Torino Polytechnicoในปี 1946 หลังจากนั้น Soleri ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมฝึกงาน Frank Lloyd Wright’s apprenticeship program ที่ Taliesin West ในแอริโซนา

Soleri กลับมาอิตาลีอีกครั้งในปี 1950 ซึ่งเขาได้รับหน้าที่ในการออกแบบโรงงานเซรามิคขนาดใหญ่ อย่าง Ceramic Artistica Solimene ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลี ช่วงนั้นเขาเริ่มทำงานในฐานะศิลปินเซรามิค เพื่อหาความรู้เกี่ยวกับเซรามิคสำหรับใช้ในการผลิต windbells ในอีกห้าสิบปีต่อมา การสำรวจเซรามิค windbells ที่ค้นพบมาจากการหล่อโลหะ และค่าคอมมิชชั่นในงานประติมากรรมของเขาเป็นแหล่งเงินทุนที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างสิ่งทดลองตามหลักทฤษฏีของเขา

โรงงานเซรามิค Ceramic Artistica Solimene 

ในปี 1970 Paolo Soleri ได้ตัดสินใจทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถมากที่สุดของเขาคือ Arcosanti มันตั้งอยู่ในทะเลทรายสูงใจกลางแอริโซนา Arcosanti สร้างขึ้นให้เป็นต้นแบบ arcology

แนวคิดในการสร้าง Arcosanti ของ Soleri เพื่อแสดงถึงสถาปัตยกรรมและนิเวศวิทยาตามหลัก arcology โดยแสดงออกมาในรูปแบบสถาปัตยกรรมสามมิติ แท้จริงแล้วทรัพยากรมีแนวโน้มที่จะแยกคนออกจากชุมชน การย่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์พื้นที่ดิน พลังงาน และทรัพยากร

Master Plan
Section
Model

Acology โดย Paolo Soleri

จริงๆแล้ว Acology คือ หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการออกแบบที่อยู่อาศัยโดยใช้หลัก hyperstructure ซึ่งเป็นทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง acology มีความโดดเด่นในการเป็นอาคารขนาดใหญ่และที่พักอาศัยที่มีความยั่งยืน มีความสะดวกสบาย สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ การบำบัดนำ้เสีย ผลิตอาหารและนำ้ มันเป็นสิ่งที่เกื้อกูลสำหรับประชากรจำนวนมาก นอกจากนี้ Acology จะต้องเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลเพื่อสามารถดำเนินการต่อไปได้

Acology ถูกเสนอให้ใช้ในการลดผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ การออกแบบ Acology มักจะใช้อาคารดั้งเดิมและเทคนิคทางวิศวกรรมโยธา แต่ในหลักทางปฏิบัติค่อนยากเนื่องด้วยงบประมาณ ซึ่ง Frank Lloyd Wright เคยเสนอให้ทำเป็นคนแรกๆอย่าง Broadacre City

แนวความคิดการออกแบบ 1
แนวคิดการออกแบบ 2
แนวคิดการออกแบบ 3

เขาได้อธิบายแผนการของเขาในเรื่องระบบการขนส่ง การเกษตร และการพาณิชย์ที่จะช่วยสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ เหมือนกับ Frank Lloyd Wright ในการออกแบบ Broadacre City ซึ่งต้องเผชิญกับนักวิจารณ์ในเรื่องการแก้ปัญหาที่เขานำเสนอด้านความยั่งยืนสำหรับที่พักอาศัยของประชากรจำนวนมากในเรื่องเงินทุน

ลักษณะเมืองในปัจจุบันนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งหมดไปกับพื้นที่สำหรับรถยนต์ ในหลัก anarcology รถยนต์จะถูกตัดทอนออกไปจากขอบเขตของเมือง  arcology เป็นสถานที่การออกแบบสำหรับพักอาศัย ทำงาน และพื้นที่สาธารณะที่มีการเข้าถึงได้ง่าย การเดินเป็นรูปแบบการขนส่งภายในเมืองอย่างหนึ่ง

แนวคิดการออกแบบ 4
Solar Performance Diagram
Broadacre City โดย  Frank Lloyd Wright  

ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.archdaily.com/159763/paolo-soleris-arcosanti-the-city-in-the-image-of-man/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here