Tadao Ando

จากบทความ การเรียนรู้ของ Tadao Ando และ Le Corbusier ที่เล่าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองของ Ando ซึ่งการเรียนรู้ด้วยคนเองของ Ando นั้นได้ผลดีเยี่ยม โดยเขาได้บอกกับสื่อต่างๆว่า “ผมไม่ไปฝึกงานหรือทำงานบริษัทสถาปนิกใดๆเลย เพราะว่าผมมักโดนไล่ออกทุกครั้งที่ไปทำงานบริษัทสถาปนิก นั่นอาจเป็นเพราะอารมณ์และความดื้อรั้นของผมเอง” 

               Tadao Ando มีแนวทางของตัวเองที่ชัดเจน แต่ไม่ใช่ว่าแนวทางของเขาจะมีมาตั้งแต่เกิด แต่เพราะว่า Ando ศึกษามามาก เขาอ่านหนังสือสถาปัตยกรรมมากมาย โดยเฉพาะสถาปนิก Le Corbusier ที่เป็นแรงบันดาลใจและทำให้เขาสนใจวัสดุคอนกรีตเป็นอย่างมาก ในขณะที่สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเน้นโครงสร้างไม้และกระดาษ แต่เขาสร้างความแตกต่างในด้านสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นในสมัยนั้นโดยสิ้นเชิง และด้วยความงามของวัสดุคอนกรีตที่ออกแบบมีความเรียบง่ายแบบเซนนั่นเอง ทำให้เขาได้รับชื่อเสียง แต่ในช่วงวัยเด็กเขาใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการศึกษาเรื่องของวัสดุไม้ รวมถึงการปลูกต้นไม้ และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ จนกระทั่งเขาได้อ่านหนังสือสถาปัตยกรรมต่างประเทศที่ยายนำมาให้เขา เขาจึงคิดว่า เขาต้องเป็นสถาปนิกตั้งแต่อายุ 17 ปี และเริ่มศึกษาสถาปัตยกรรมอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

               Tadao Ando  ได้บอกถึงแรงบันดาลใจในช่วงเริ่มต้นของเขาว่า “ผมต้องเก็บเงินอยู่หลายสัปดาห์เพื่อซื้อหนังสือ Le Corbusier มาอ่าน ” ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาออกเดินทางไปดูงานสถาปัตยกรรมของ Le Corbusier ที่ฝรั่งเศส รวมถึงงานศิลปะ จนทำให้เขารู้สึกหลงใหลวัสดุคอนกรีต กระจก และเหล็ก ซึ่งคงไม่มีใครคิดว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองของ Ando นั้น เขาเรียนคนเดียว ออกเดินทางด้วยตัวเอง เรียนรู้ในสิ่งที่เขาอยากรู้ โดยเขาเริ่มต้นดูงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก่อน จนเข้าใจงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น จึงเริ่มออกเดินทางดูงานต่างประเทศ ตลอดเวลาที่เขาศึกษางานสถาปัตยกรรมจากการเดินทาง เขามักจะพกสมุดหรือกระดาษร่างสำหรับในการสเก็ตซ์งานสถาปัตยกรรมเสมอ ๆ 

the Church of the Light


               ตอนท้าย Ando บอกว่า “ผมคิดว่าสถาปัตยกรรมไม่ควรจะส่งเสียงมากเกินไป มันควรจะอยู่อย่างเงียบสงบ แต่ปล่อยให้ธรรมชาติ แสงแดด และลมเป็นตัวพูดแทนสถาปัตยกรรม” อย่างผลงานชิ้นเอกของเขา ” the Church of the Light” ผลงานที่เจาะช่องคอนกรีตเป็นเส้น ให้แสงแดดเข้ามาตามช่อง เกิดสเปซทางจิตวิญญาณที่ธรรมชาติได้ส่งเสียงให้กับสถาปัตยกรรมนั่นเอง 

ดังนั้นการเรียนรู้ของ Ando เป็นการเรียนรู้ที่ง่ายมาก นั่นคือการศึกษาและทำมันทุกวัน จนเกิดความรู้ถ่องแท้และเข้าใจสถาปัตยกรรม เข้าใจธรรมชาติ และศิลปะ ส่งผลให้งานสถาปัตยกรรมไม่ต้องพูดพรรณนา แต่ธรรมชาติช่วยบรรเลงให้สถาปัตยกรรมมีชีวิตขึ้นมา

อ่าบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tadao Ando
การสอนนักเรียนสถาปัตยกรรมในแบบ Tadao Ando

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.csmonitor.com/1995/0417/17141.html
http://www.buro247.my/culture/art-and-design/self-taught-architects-taking-over-the-world.html

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here