![]() |
บ้านเขาลอย, เขาใหญ่ ในบรรยาการตอนเช้า |
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเขาใหญ่ และได้ไปเยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรม ของอาจารย์เล็ก กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล ชื่อ บ้านเขาลอย เป็นบ้านที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ต้นไม้ และภูเขา เป็นบ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งอาจารย์เล็กได้เล่าถึงวิธีคิดและวิธีการออกแบบงานสถาปัตยกรรม บ้าน ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
บ้านเขาลอยหลังนี้ ถูกวิเคราะห์เรื่องทิศทางแดดลม ทำให้บรรยากาศในตอนเช้า มีความร่มรื่นและสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า ซึ่งอาจารย์กรรณิการ์ได้เล่าที่มาที่ไปของบ้านหลังนี้ ซึ่งทำให้ผู้เขียนได้เห็นว่า รายละเอียดของบ้านได้ถูกคิดและกลั่นกรองเรื่องราวได้อย่างดี
ดีเทลของบ้านเขาลอย เกิดจากเรื่องราวของผู้ใช้งาน และออกแบบบ้านโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ใช้เหล็กและไม้ ซึ่งเป็นไม้ที่หาได้ตามพื้นที่และใช้ช่างของที่นี่ในการสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่ซับซ้อนและไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เมื่อเดินเข้ามารู้สึกว่าบ้านเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ และมีความสงบ และข้อสังเกตของบ้านหลังนี้ที่อ.เล็กบอกว่า ถ้าหากถ่ายรูปบ้านหลังนี้จะเห็นว่า ไม่ได้ตั้งฉาก จะมีความเอียงของเสาทั้งสองข้าง นั่นทำให้บ้านหลังนี้ไม่ดูแข็งจนเกินไป
บ้านหลังนี้มีสองชั้น โดยชั้นล่างเป็นใต้ถุนสูง โดยใช้เป็นพื้นที่จอดรถและห้องเก็บของ โดยภายในใต้ถุนมีดีเทลที่น่าสนใจ นั่นคือ เมื่อแหงนมองด้านบนจะเห็นว่า อ.เล็กได้ออกแบบการวางพื้นไม้ให้มีระยะห่าง ทำให้บริเวณชั้นใต้ถุนสามารถมีช่องแสงส่องลงมาด้านล่างได้
![]() |
บ้านเขาลอย , เขาใหญ่ |
![]() |
อ.กรรณิการ์พาเยี่ยมชมบ้าน และอธิบายหลักการออกแบบบ้านเขาลอย |
![]() |
ฝ้าเพดานใต้ถุน(พื้นบริเวณชั้นบน) |
นอกจากนี้ เมื่อเดินมาจุดบริเวณบันไดของบ้าน จะเห็นปุ่มเปิดไฟก่อนขึ้นสู่ตัวบ้าน ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจารย์สาธิตการใช้งานให้ดู เราสามารถกดเปิกไฟได้พอดีกับมือโดยไม่ต้องก้มหรือเอื้อมไปแตะ เป็นดีเทลเล็กน้อยที่ผู้เขียนว่า น่าสนใจ ซึ่งเราสามารถปรับใช้และเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหางานสถาปัตยกรรมได้
![]() |
ดีเทลบริเวณก่อนขึ้นบันได คือ ไฟเปิดบริเวณบันไดที่ให้ความสว่างก่อนขึ้นตัวบ้าน |
![]() |
บันไดขึ้นสู่ตัวบ้าน |
เมื่อขึ้นสู่บริเวณชั้นสองนั้น ตัวผังออกแบบให้มีลานระเบียงขนาดใหญ่ เปิดพื้นที่ให้เห็นธรรมชาติล้อมรอบตัวบ้าน การรับรู้มุมมองจากภายในอาคารจะแตกต่างเมื่อเรามองจากภายนอกอาคาร ถ้าเรามองจากภายนอกอาคาร จะรู้สึกว่าบ้านแทรกตัวไปกับธรรมชาติ แต่ถ้ามองจากภายในอาคาร เหมือนบ้านถูกธรรมชาติโอบล้อมไว้ บ้านจึงมีบรรยากาศอบอุ่นและเย็นสบาย …. บ้านหลังนี้ทำให้ผู้เขียนคิดว่าสามารถสร้างแรงบันดาลใจในมุมมองการออกแบบบ้านสำหรับนักออกแบบได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
![]() |
บรรยากาศของบ้านเขาลอย ที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ |
![]() |
บรรยากาศบริเวณระเบียง |
![]() |
ผังพื้นชั้นล่าง |
![]() |
ผังพื้นบริเวณชั้นบน |
![]() |
รูปด้านอาคาร (ด้านหน้า) |
![]() |
รูปด้านอาคาร |
![]() |
ที่นั่งชิงช้า บริเวณด้านหน้าบ้าน |
![]() |
พื้นที่บริเวณบ้านชั้น 2 |
![]() |
พื้นที่ภายในบริเวณบ้าน |
![]() |
บริเวณห้องนอน |
![]() |
บริเวณห้องน้ำ |
![]() |
พื้นที่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ |
![]() |
Detail การเรียงพื้นไม้ให้มีระยะห่าง เพื่อเกิดช่องแสงบริเวณใต้ถุน |
![]() |
Detail วัสดุใช้เหล็กและประกบด้วยไม้แผ่น |
![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและธรรมชาติ |
![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและธรรมชาติ |
Yellow Submarine
ผู้เขียนยังได้มีโอกาสไปชม ร้านกาแฟที่น่าสนใจเมื่อมาเยือนเขาใหญ่ “Yellow Submarine” ร้านกาแฟที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ต้นไม้ ซึ่งที่นี่ออกแบบที่ว่างให้มีความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในอาคารและพื้นที่ภายนอก โดยอาคารตั้งบริเวณตรงกลาง โดยมีทางเดินทั้งสองข้างของอาคาร พื้นที่ของร้านกาแฟมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ด้วยการเปิดพื้นที่ว่างระหว่างพื้นที่ธรรมชาติและท้องฟ้า ทำให้ Yellow Submarine นั้นไม่รู้สึกทึบตัน เหมือนเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ แม้ว่าจะมีส่วนที่เป็นกำแพงกั้นเพื่อเป็นทางเดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
![]() |
Yellow Submarine , Kao Yai |
![]() |
ป้าย Yellow Submarine |
![]() |
บริเวณห้องน้ำ |
![]() |
Detail Building |
![]() |
พื้นที่ระหว่างภายในและภายนอก |
![]() |
พื้นที่นั่ง กลางแจ้ง |
![]() |
พื้นที่นั่งกลางแจ้ง |
![]() |
พื้นที่ว่างภายใน และภายนอก |