Le Corbusier

  Le Corbusier เป็นสถาปนิก นักผังเมือง มัณฑนากร จิตรกร และนักเขียนชาวฝรั่งเศส(เดิมเป็นชาวสวิส แต่แปลงสัญชาติตอนอายุ 30กว่าๆ) และเป็นสถาปนิกที่เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมmodern แนวความคิดในการออกแบบของเขายึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขาที่ว่า ” a house is a machine for living in”หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง เขามองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนออกมาจากโรงงาน และด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน และหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิกตั้งแต่นั้นมา
ความจริงแล้ว Corbusierได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์กระบวนแบบใหม่ๆ ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆเครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกมาชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร บ้านที่เรารู้จักกันดีคือ Villa Savoye ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บนภูมิทัศน์ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิกและยุคเครื่องจักรกล Corbusierเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบอนาคตนิยม โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วยจินตนาการของเขาเอง

 Villa Savoye นอกกรุงปารีส
 Villa Savoye
บันไดวนภายใน  Villa Savoye
ทางเดิน
Le corbusier กับโมเดลจำลอง

Corbusier ออกแบบ villa savoye ให้สะท้อนถึงทิศทางของดวงอาทิตย์ โดยชั้นล่าง(พื้นดิน)ออกแบบเป็นโถงทางเข้า บันไดทางลาด โรงจอดรถ และห้องพักของคนขับรถและแม่บ้าน ส่วนชั้นหนึ่งเป็นห้องนอนใหญ่ ห้องนอนลูกชายและห้องนอนแขก ห้องครัว โถงรับแขก และลานระเบียงภายนอก

โถงรับแขกที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและมีระเบียงที่อยู่ทางทิศใต้
ลานระเบียง

ส่วนห้องนอนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห้องครัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนชั้นสองจะเป็นที่ว่างไว้สำหรับอาบแดด
ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการ(five points of modern architecture)ของ Le Corbusier
1.ยกพื้นสูง ลอยตัว มีลักษณะเบา
2.จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอยอิสระ (free plan) เพราะใช้ผนังลอยได้
3.ใช้ roof garden มีfunction เป็นระเบียง สวน ดาดฟ้า เนื่องจากเป็น flat roof
4.free facade ผนังด้านนอกไม่จำเป็นต้องรับนำ้หนัก
5.ใช้ ribbon window ช่องเจาะยาวแนวนอนได้
Corbusier ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการของเขา หลังสงความเขาทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มีพื้นผิวที่เรียบลื่น และหันไปชอบกระบวนการแบบใหม่ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือ ความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าเขามักทำโครงสร้างแบบคอนกรีตเปลือย และเขาเห็นว่า อาคารนั้นไม่เหมาะกับคน แต่ควรทำให้คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัดส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน

ลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบ brutism
Ronchamp ผลงานของ Le Corbusier วัสดุเป็นคอนกรีตเปลือย
ภายในอาคาร

Ronchampเป็นโบสถ์ใช้รูปทรงที่แรงแทนสัญลักษณ์ทางศาสนา  งานนี้มีลักษณะเห็นถึงพลังและมีความเป็นตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์

ส่วนผลงานทางด้านศิลปะของ Le Corbusierที่แสดงถึงสัดส่วนมนุษย์ ระบบ modulor

ผลงานชื่อ  “La Femme et le Moineau,” ในปี 1957
ผลงานชื่อ “Nature Morte Rouge au Violon” ในปี 1920

1 COMMENT

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here