PODCAST 04 – หลิน ฮุ่ยหยิน (Lin Huiyin) สถาปนิกหญิงคนแรกของจีนในยุคโมเดิร์น

“สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่ช่อง PODCAST ของ wonderfularch.com”

PODCAST ตอนที่ 4 จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาปนิกหญิงชาวจีนในยุคโมเดิร์นระยะต้น ว่าในยุคสมัยที่ผู้ชายยังเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง แต่หลิน ฮุ่ยหยินเป็นตัวอย่างของผู้หญิงที่มีความรู้ความสามารถ และประกอบอาชีพเหมือนผู้ชาย และผลงานของเธอเป็นที่ยอมรับ เราลองมาดูเรื่องราวของสถาปนิกหญิงผู้นี้กันค่ะ

ประวัติหลิน ฮุ่ยหยิน (Lin Huiyin)

หลิน ฮุ่ยหยิน เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 1904 เป็นสถาปนิกและนักเขียนชาวจีน เธอเป็นที่รู้จักในฐานะว่าเป็นสถาปนิกหญิงคนแรกในประเทศจีนในยุคโมดิร์นสมัยใหม่ ส่วนสามีของเธอชื่อ เหลียง ซื่อเฉิง เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ทั้งคู่ทำงานร่วมกัน อีกทั้งทั้งคู่เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นคณาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในช่วงปี 1928 และช่วงหลังปี 1949 พวกเขาได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยชิงหวาในกรุงปักกิ่ง เหลียงและหลินเริ่มฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของจีน และดำเนินการเรื่อยมาจนถึงบั้นปลายของชีวิต

หลิน ฮุ่ยหยิน (Lin Huiyin)

หลิน ฮุ่ยหยิน เกิดที่เมืองหางโจว ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้หลินเป็นผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาต่อต่างประเทศ เธอได้รับปริญญาจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ศึกษาต่อที่ต่างประเทศ หลินมีโอกาสได้รู้จักกับ สวี จื้อหมัว(Xu Zhimo) นักกวีโรแมนติกชาวจีน ทั้งคู่เคยคบกันอยู่พักหนึ่ง แต่สุดท้ายทั้ง 2 คนต่างมีครอบครัวและกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นกวีและนักเขียนของหลิน

ในปี 1924 หลินและเหลียง ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ซึ่งหลินยังทำงานขณะเป็นนักศึกษาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรม แม้ว่าทั้งเหลียงและหลินจะเข้าเรียนในคณะสถาปัตยกรรม แต่หลินกับไม่ได้รับการยอมรับเพียงเพราะหลินเป็นผู้หญิง ต่อมาเธอจึงไปศึกษาต่อที่โรงเรียนวิจิตรศิลป์และการออกแบบ(ละครเวที)ในมหาวิทยาลัยเยล ทำให้เธอเริ่มสนใจการเขียนละครและนวนิยายในเวลาต่อมา

หลิน ฮุ่ยหยิน กับ รพินทรนาถ ฐากุร

ในระหว่างที่เธอยังศึกษาด้านสถาปัตยกรรม เธอมีความหลงใหลในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งหลินและเหลียงมีความหลงใหลในงานสถาปัตยกรรมและเริ่มสนิทสนมกัน ทั้งคู่จึงร่วมกันทำงานสถาปัตยกรรมและพัฒนาความสัมพันธ์ ที่สำคัญหลินได้มีโอกาสได้พบกับรพินทรนาถ ฐากุร (นักปรัชญาและกวีชาวอินเดีย) เขาได้มาเยือนปักกิ่งในปี 1924 โดยหลินและสวี จื้อหมัวได้ร่วมกันทำงานแปลให้กับฐากุร ทำให้ฐากุรเห็นความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่คล่องแคล่วของหลินและได้รับความชื่นชม

การทำงาน

หลังจบการศึกษา หลินได้เดินทางกลับมายังกรุงปักกิ่ง และศึกษาด้านสถาปัตยกรรมจีนโบราณ แล้วร่วมก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern University) ในเมืองเสิ่นหยาง และเป็นอาจารย์ประจำภาคสถาปัตยกรรมอยู่พักหนึ่ง ในปี 1928 หลินได้งานออกแบบสถานีรถไฟในมณฑลจี๋หลิน ในปีนั้นเองหลินตกลงแต่งงานกับเหลียง ซื่อเฉิงที่แคนาดา มีบุตรชายชื่อ เหลียง ฉีเฉา เป็นนักการเมืองและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของจีน

หลิน ถือเป็นสถาปนิกหญิงที่มีความขยันขันแข็งมาก มีส่วนในการพัฒนาสถาปัตยกรรมจีนให้มีความก้าวหน้า หลินและสามีต่างช่วยกันในการฟื้นฟูและค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของจีน และร่วมกันพยายามปกป้องอาคารเก่าหลายๆแห่งในกรุงปักกิ่งในช่วงที่ภาครัฐกำลังจะปรับปรุงเมืองด้วยการก่อสร้างใหม่

อนุสาวรีย์วีรชน (the People’s Monument)
ภาพจาก https://img.mp.itc.cn

ในช่วงทศวรรษที่ 1930 หลินและสามีอาศัยอยู่ในในปักกิ่ง เธอมีส่วนในการออกแบบอนุสาวรีย์วีชน (the People’s Monument) ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจีน ลักษณะของอนุสาวรีย์เป็นเสา โอเบลิสก์ (Obelisk) มีความสูงประมาณ 10 ชั้น หรือประมาณ 38 เมตร เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานของชาวจีนที่เสียสละในการปฏิวัติของชาติในช่วงศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 ผู้ออกแบบคือ เหลียง ซื่อเฉิง ส่วนหลินเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดและองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ สร้างด้วยหินอ่อนและหินแกรนิตประมาณ 17,000 ชิ้น จากเมืองชิงเต่า มณฑลชานตง และในเขตฟางซาน บนแท่นฐานของอนุสาวรีย์เป็นภาพแกะสลักและงานปูนปั้นทำเป็นรูปเหตุการณ์การปฏิวัติจำนวน 8 เหตุการณ์ด้วยกัน โดยลำดับเหตุการณ์ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศตะวันออก ได้แก่

  • 1 เหตุการณ์สงครามฝิ่น ครั้งที่ 1 ในปี 1839
  • 2 เหตุการณ์จลาจลในเทียนจิน ทำให้เกิดชนวนให้เกิดกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว ในปี 1851
  • 3 เหตุการณ์จลาจลในอู่ชาง จนเกิดการการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี 1911
  • 4 เหตุการณ์การเคลื่อนไหว ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1919
  • 5 เหตุการณ์การเคลื่อนไหว ในวันที่ 30 พฤษภาคม 1925
  • 6 เหตุการณ์จลาจลในหนานฉาง ในปี 1927
  • 7 เหตุการณ์สงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในปี 1931 – 1945
  • 8 เหตุการณ์การรณรงค์การข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงในสงครามการเมือง ในปี 1949

ด้านหน้าอนุสาวรีย์มีการจารึกด้วยลายมือของเหมา เจ๋อตุง เขียนว่า “人民英雄永垂不朽” แปลว่า “ความสง่างามแด่วีรชนของประชาชน” และด้านหลังจารึกบทประพันธ์ของเหมา เจ๋อตุง และเขียนโดยโจว เอินไหลเอาไว้

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สงคราม จีนถูกญี่ปุ่นรุกราน หลินและครอบครัวต้องออกจากกรุงปักกิ่ง อพยพไปทางทิศใต้ ย้ายไปตั้งถิ่นฐานชั่วคราวที่เมืองเทียนจิน คุนหมิง (มณฑลยูนนาน) และย้ายไปอยู่ที่ลี่จวงในปี 1940

หลังจากปี 1949 หลิน ฮุ่ยหยินได้เป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ที่สำคัญเธอยังมีส่วนร่วมในการออกแบบและวางมาตรการการวางผังเมืองในกรุงปักกิ่ง

ในช่วงปี 1950 หลินเริ่มมีอาการป่วยด้วยโรควัณโรค ทำให้เธอไม่สามารถทำงานได้มากเหมือนแต่ก่อน แต่เธอยังทำงานต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หลินเสียชีวิในปี 1955

สื่อสิ่งพิมพ์

ความสนใจของหลิน ฮุ่ยหยินนั้นมีมากมาย นอกจากงานสถาปัตยกรรม เธอยังมีความสามารถในการเขียนบทกวี เขียนเรื่องสั้น เขียนบทละคร รวมถึงงานแปลภาษาอังกฤษ ผลงานของเธอหลายชิ้นได้รับการยกย่องในด้านความละเอียด ความคิดสร้างสรรค์ และความงาม ผลงานที่มีชื่อเสียงของเธอได้แก่ Smile , Ninety-nine Degrees , Don’t Let Our Land be Lost Again! และ Meizhen and Them

นอกจากนี้หลินและสามียังร่วมกันเขียนหนังสือชื่อว่า A Pictorial History of Chinese Architecture ทั้งเธอและสามีได้ไปเยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรมจีน อาคารเก่า และอาคารอนุรักษ์หลายแห่ง เธอได้ทำงานวิจัยและอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมในประเทศจีน และทำงานแปลหนังสือทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน

วรรณกรรม

งานเขียนด้านวรรณกรรมของหลิน ฮุ่ยหยินมีมากมาย ภาษาเขียนของเธอมีเอกลักษณ์ มีความละเอียดอ่อน มีความทันสมัยและมีความเป็นวัฒนธรรมจีนด้วย บนกวีที่โด่งดังของเธอคือ “You Are the April of This World” เป็นบนกวีโรแมนติกที่เธอได้แต่งให้เพื่อนสนิทและอดีตคนรักของเธอ “สวี จื้อหมัว” ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก ซึ่งเนื้อหาในบทกวีมีความอ่อนโยน ใช้ภาษาสมัยใหม่ ดูเรียบง่าย และเป็นผู้หญิง บทกวีจีนของเธอมักจะมีการเปรียบเทียบกับธรรมชาติ ฤดูกาล เสมือนชมภาพวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ดังประโยคกวีของเธอที่กล่าวว่า

วรรณกรรม You Are the April of This World
(ภาพจาก : amzon.com)

I think you are the April of this world,

Sure, you are the April of this world.

Your laughter has lit up all the wind,

So gently mingling with the spring.

You are the clouds in early spring,

The dusk wind blows up and down.

And the stars blink now and then,

Fine rain drops down amid the flowers.

So sublime and innocent,

You are a full moon over each evening.

The snow melts, with that light yellow,

You look like the first budding green.

You are the soft joy of white lotus

Rising up in your fancy dreamland.

You’re the blooming flowers over the trees,

You’re a swallow twittering between the beams;

Full of love, full of warm hope,

You are the spring of this world!

บทกวีของหลิน ฮุ่ยหยิน ต้นฉบับเขียนด้วยภาษาจีน ถูกนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีระดับการใช้ภาษาที่แตกต่างกันออกไป และถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลก

การเป็นนักกวีของหลิน ฮุ่ยหยิน เกิดจากการที่เธอได้จากการเดินทางไปศึกษาต่อที่ยุโรปตั้งแต่ยังเด็ก และเธอได้รู้จักกับสวี จื้อหมัว ทำให้เธอเข้าสู่โลกกวีและวรรณกรรมอย่างเต็มตัว เขาสนับสนุนและส่งเสริมให้หลินเขียนวรรณกรรม เขียนบทกวี และการเขียนบทละครเวที และร่วมกันทดลองเขียนวรรณกรรมรูปแบบอื่นๆร่วมกัน ที่สำคัญยังทำงานร่วมกันในฐานะนักแปลให้กับรพินทรนาถ ฐากูร เมื่อครั้งมาเยือนประเทศจีน

บทกวีและงานวรรณกรรมของเธอ มีความโรแมนติก สื่อถึงความรัก ความงาม ความเงียบสงบและความสวยงามของธรรมชาติ และความหนักแน่นของชีวิต

บทสรุป

หลิน ฮุ่ยหยิน เป็นสตรีที่มีความกล้าที่จะยืนหยัดในความฝันและเป้าหมายของตนเอง เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่เทียบเท่ากับผู้ชาย และใช้ความรู้ความสามารถของตนในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมและวรรณกรรมที่ถือเป็นมรดกของชาติ ที่สำคัญเธอยังทำให้ค่านิยม ขนบธรรมเนียมเดิมเปลี่ยนไป ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเดินตามหลังผู้ชายเสมอไป แต่เธอแสดงความเป็นผู้นำ การเสียสละ และอุทิศตนให้กับการทำงานสถาปัตยกรรม

ข้อมูลประกอบจาก : www.china.org.cn / wikipedia.org / architectuul.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here