Walkable City กฎเกณฑ์ในการเป็นเมืองแห่งการเดิน และความเป็นไปได้ตามหลักสากล
Walkable City – กฏเกณฑ์ในการเป็นเมืองแห่งการเดิน และความเป็นไปได้ตามหลักสากล

Walkable City หรือเมืองแห่งการเดิน เป็นเมืองในอุดมคติที่หากเป็นจริงและเกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะหากเมืองมีความปลอดภัย ผู้คนสามารถเดินไปไหนมาไหน อีกทั้งสภาพแวดล้อมของเมืองมีความสะอาด ทำให้ระบบนิเวศมีความสมดุล การใช้ชีวิตของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเป็นสุขมากขึ้น

ในยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมายที่มาอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ สภาพแวดล้อมถูกทำลาย คนเริ่มเดินน้อยลง ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยมากขึ้น หรือแม้แต่มลพิษทางอากาศ ทำให้หลายๆประเทศเริ่มมีการรงณรงค์และพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการเดินมากขึ้น

บทความนี้ เป็นการเล่าเรื่องว่า การสร้างเมืองให้เอื้อต่อการเดิน จะส่งผลกระทบในด้านบวกต่อคน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง และสามารถทำให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้มากน้อยแค่ไหน

ยุคก่อนการพัฒนาเมืองแห่งการเดิน (Walkable City)

ในยุคโมเดิร์น เป็นยุคที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง จากการนั่งรถม้าและขี่จักรยาน มีรถยนต์เข้ามาแทนที่ การก่อสร้างอาคารต่างๆมีวัสดุที่ง่าย และลดระยะเวลาการทำงานมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายและการเร่งรีบของอุตสาหกรรม ทำให้ผู้คนในยุคนั้นมองข้ามเรื่องของผลกกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และด้านสังคม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม เป็นผลกระทบในระยะยาว ผู้คนเจ็บป่วยมากขึ้น พื้นที่สีเขียวลดน้อยลง ระบบนิเวศบางส่วนถูกทำลาย มลพิษทางอากาศที่ถูกสะสมมานาน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ฝุ่นกระจายตัวตามชั้นบรรยากาศ และเชื้อโรคที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ทำไมต้องเป็น “เมืองแห่งการเดิน”

เมืองแห่งการเดิน ตามหลักการวิจัยและบทความหลายๆที่ ต่างบอกว่า หากเมืองใดมีศักยภาพ จะช่วยทำให้เมืองมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และทำให้สังคมมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งหากมีการวางผังเมืองที่ดี จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ดีขึ้นมาก การทำอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะบ้าน มีราคาสูงขึ้น

หากภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ลงทุนพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองเดินได้แล้ว ดึงดูดผู้คนได้มาประกอบอาชีพและพักอาศัย ที่สำคัญเมืองที่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้อย่างปลอดภัย ปราศจากรถยนต์ หรือมีรถยนต์น้อยที่สุด เมืองนั้นก็จะสามารถเป็นเมืองที่ดึงดูดคนทุกเพศทุกวัยมากขึ้น

คนในวัยทำงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเดินทาง พอลดค่าใช้จ่ายจากพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ผู้คนจะรู้สึกว่ามีเงินเก็บ คนจะออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมาก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชนและคนในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นในบทความของสื่อตะวันตกจึงมองว่า เมืองเดินได้ สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้

ในหลายๆประเทศที่มีภาวการณ์หนาแน่นของจราจรของยานพาหนะ ซึ่งส่งผลกระทบการใช้ชีวิตและค่าครองชีพ การพักอาศัย และปัญหาเรื่องของสุขภาพ รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคม จึงต้องปฏิรูปเมืองใหม่

การพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการเดิน จึงเริ่มต้นจากการวางผังเมือง ออกแบบถนนหรือพื้นที่ในเมืองให้ผู้คนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่รถยนต์ ให้ผู้คนเดินเท้ารู้สึกว่า การข้ามถนนและการเดินไปไหนมาไหนในเมืองมีความปลอดภัย มีรถโดยสารสาธารณะที่มีคุณภาพ สิ่งนี้คือเมืองที่เอื้อต่อการเดินสำหรับผู้คนในยุคนี้อย่างแท้จริง

ไม่เพียงแต่การพัฒนาเมืองเดินได้ จะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองจักรยาน การมีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว ต้องอาศัยความร่วมมือจาหน่วยงานหลายๆฝ่าย ที่ค่อยๆพัฒนาเมืองเพื่อประชาชนให้เป็นรูปธรรม

จะว่าไปแล้ว การพัฒนาเมืองเดินได้ ไม่ได้มีสูตรตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ แต่ละเมือง แต่ละสังคม หรือวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมในแต่ละที่ ผู้เขียนมองว่า การทำให้เมืองเอื้อต่อการเดินไม่ว่าจะถูกพัฒนาด้วยวิธีใดก็ตาม ย่อมสร้างผลบวกมากกว่าเชิงลบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตดีขึ้น คนมีเงินเก็บมากขึ้น สุขภาพดี เจ็บป่วยน้อยลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับ เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน

หลักการเป็น “เมืองแห่งการเดิน”

หลักการของการเป็น “เมืองแห่งการเดิน”_Wonderfularch.com
หลักการเป็นเมืองแห่งการเดิน
หลักการของการเป็น “เมืองแห่งการเดิน”_Wondefularch.com
หลักการเป็น “เมืองแห่งการเดิน” 4 ข้อ

ตามหลักการสากล มีหลักการที่เขียนขึ้นโดยกลุ่มนักวิชาการ งานวิจัยจากทั่วโลกที่ได้แสดงทฤษฎี และผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ผู้เขียนจะนำเสนอหลักการที่เป็นหลักที่ทั่วโลกนำไปใช้ได้ มีความเป็นไปได้ และส่งผลกระทบในด้านบวกกับเมือง สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

1 การทำให้ชุมชนน่าอยู่

หลักการพื้นฐานง่ายๆ คือ การทำให้ชุมชนน่าอยู่ก่อน หมายความว่า ในหมู่บ้านของเรา หน้าบ้านของเราจะต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยว ไม่ดูอับทึบ ผู้คนสามารถเดินไปมาหาสู่กันได้ มีพื้นที่มีปฏิสัมพันธ์กัน เป็นการสร้างพื้นที่เอื้อต่อการเดินจากภายใน ก่อนออกสู่พื้นที่ภายนอก อย่างถนนและทางเท้า

1.1 ตัวอย่างชุมชนน่าอยู่

ตัวอย่างในเอเชียที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศญี่ปุ่น หากเดินไปตามหมู่บ้านหรือท้องถนนในญี่ปุ่น สิ่งที่สังเกตได้คือ หน้าบ้านแต่ละหลัง ร้านค้า หรือจุดสาธารณะจะสะอาด เป็นระเบียบ มีการปลูกต้นไม้ ดอกไม้ สร้างความสวยงามและความเพลิดเพลินขณะเดิน มีไฟส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อความปลอดภัย

ชุมชนน่าอยู่ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนหรือหมู่บ้าน ในการสร้างกิจกรรมคนเดิน หรือพื้นที่ชุมชนมีโครงสร้างหรือสิ่งอำนวยความสะดวกกับคนเดิน หากชุมชนเป็นพื้นที่ที่คนทุกเพศทุกวัยเดินได้อย่างปลอดภัย จะส่งผลกระทบทางบวก และคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นในหลายๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพกาย และสุขภาพจิต หากชุมชนสามารถมีพื้นที่คนเดินไปยังสถานที่ต่างๆได้อย่างปลอดภัย ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที คือ เดินจากบ้านไปตลาด ไปร้านค้า หรือนักเรียนเดินไปโรงเรียน หรือการไปเดินเล่นสวนสาธารณะใกล้ๆบ้าน

2 ถนน และทางเท้า ปลอดภัยจริง

เมื่อออกสู่หมู่บ้าน จะเจอกันถนนหนทาง และทางเดินเท้า แต่จะมีสักกี่แห่งที่ทางเดินเท้าและถนนปลอดภัยกับคนอย่างแท้จริง หมายความว่า เวลาคนเดินบนทางเดินเท้า ต้องไม่รู้สึกพะวงหน้าพะวงหลังว่าจะมีลดสวนมาบนทางเท้าหรือไม่ เวลาข้ามทางม้าลายต้องปลอดภัย จะว่าไปเมืองที่มีถนนและทางเท้าที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ทำให้เมืองมีการขับเคลื่อนและเคลื่อนไหวตลอดเวลา อุบัติเหตุและอาชญากรรมลดน้อยลง

2.1 ลักษณะทางเท้าที่ดี

ลักษณะทางเท้าที่เอื้อต่อคนเดิน เป็นทางเดินเท้าที่ผู้คนสามารถเดินได้อย่างเพลิดเพลิน แต่ถ้าทางเดินเท้าไม่เอื้อกับประชาชนจริงๆ เช่น มีหลุมบ่อ ทางเดินขรุขระ พื้นลื่น มีรถมอเตอร์ไซต์ขับสวนบนทางเท้า มันสร้างความรู้สึกให้คนไม่อยากเดิน โดยเฉพาะที่กรุงเทพมหานคร ที่ทางเดินเท้าหลายๆแห่งยังเป็นปัญหากับคนเดิน และไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร นั่นทำให้คนมองว่า เดินเท้าไปไหนมาไหนไม่ปลอดภัยกับคุณภาพชีวิต และหันไปพึ่งรถยนต์ที่สะดวกสบายและใช้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกฐานะมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ การมีเลนจักรยานในเมือง สามารถทำให้รถยนต์ขับรถช้าลง และเอื้อให้คนได้เดินอย่างปลอดภัยมากขึ้น

2.2 ตัวอย่างเมืองสำหรับคนเดินเท้า

ปารีส เมืองที่มีทางเท้าที่มีคุณภาพสำหรับคนเดิน_wonderfularch.com
ปารีส เมืองที่มีทางเท้าที่มีคุณภาพสำหรับคนเดิน

ตัวอย่างทางเท้าที่มีคุณภาพ หรือทางเท้าที่ทำให้คนเดินมีความสุขที่จะเดินไปไหนมาไหน คือ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มักถูกจัดอันดับต้นๆเป็นเมืองที่น่าเดินที่สุดเมืองหนึ่ง ด้วยลักษณะเมืองปารีสเป็นเมืองที่มีกายภาพที่ให้ความสำคัญกับคนเดินมากกว่ารถยนต์ เป็นเมืองที่ปลอดภัย และมีอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยมาก เนื่องจากปารีสมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนเดินเท้า ทุกๆระยะทาง 100 เมตร มีร้านค้า พื้นที่สาธารณะ สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา ทำให้ประชาชนในปารีสสามารถเดินเดินจับจ่ายใช้สอย นั่งเล่นพักผ่อน หรือกิจกรรมอื่นๆใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีจากบ้านพักอาศัยหรือหมู่บ้าน

ปารีสให้ความสำคัญกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะทำให้ทางคนเดินและทางรถยนต์แยกจากกันชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลมองว่าการทำให้คนในเมืองมีความสุข มีหลักการอยู่ 6 อย่าง ได้แก่ การใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี คุณภาพชีวิตต้องมีคุณภาพ ได้รับการศึกษา มีพื้นที่ผักผ่อนหย่อนใจให้ประชาชน มีความปลอดภัยในการเดินไปไหนมาไหนในเมือง ไม่เพียงแต่คนเดิน ความปลอดภัยสำหรับผู้ปั่นจักรยานเป็นเรื่องที่ต้องตะหนักเช่นกัน ฉะนั้นการทำให้คนในเมืองสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้วยการเดินที่ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่จะทำให้เมืองเป็นเมืองแห่งการเดินที่สมบูรณ์

3 การมีพื้นที่สาธารณะในเมืองและใกล้ชุมชน

การมีพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือสวนขนาดเล็ก ที่อยู่ในเมือง ผู้คนสามารถออกมาเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจ นั่งพูดคุยกัน พบปะกัน หรือสามารถออกมาวิ่งออกกำลังกายได้ ส่งเสริมเรื่องของสังคม ทำให้ประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

หลายๆประเทศทั่วโลก มักพูดถึงเรื่องการออกแบบ “พื้นที่สาธารณะ” ที่ทำให้เมืองมีความยั่งยืนและพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ คำว่า พื้นที่สาธารณะในที่นี้ นอกจากจะหมายถึงสวนสาธารณะแล้ว ยังหมายถึงพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หรือสถานที่ทีทำให้คนได้มีแหล่งเรียนรู้ และพื้นที่พักผ่อนสร้างปฏิสัมพันธ์กันในสังคมได้อย่างเต็มที่

พื้นที่สาธารณะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเดิน และเกี่ยวข้องกับชุมชน จนนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับเมือง จนถึงระดับประเทศ ทำให้เห็นประเทศใหญ่ๆหลายประเทศ พยายามพูดถึงเรื่อง เมืองเดินได้และพื้นที่สาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและคนหมู่มาก

3.4 ตัวอย่างการมีพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการเดิน

ในกรุงอัมสเตอร์ดัมไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จเรื่องเมืองจักรยาน แต่ยังให้ความสำคัญกับคนเดินด้วย มีการสร้างทางเท้าที่แยกกับถนนคมนาคมอย่างชัดเจน และจำกัดความเร็วของรถบนท้องถนนในย่านสาธารณะต่างๆ หรือที่เมืองซูริก ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีการพัฒนาเมืองจักรยานและการเดินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนสามารถทำให้เมืองสามารถทำให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคน และพัฒนาไปจนถึงเรื่องการท่องเที่ยวอีกด้วย

4 เมืองแห่งการเดิน สามารถวัดผลลัพธ์ได้

เมืองแห่งการเดิน หากออกแบบและถูกสร้างขึ้นมาเป็นรูปธรรม จะต้องสามารถวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้วัดผลเมืองแห่งการเดิน คือ PERS (Pedestrian Environment Review System) ซึ่งใช้มากที่สุดในประเทศอังกฤษ

หลักการ PERS_Wonderfularch

ขั้นตอนการวัดผลตามฉบับ PERS ดูจากศักยภาพในการเดินในเมือง เช่น

  • ลักษณะคุณภาพของทางเท้า
  • การนับจำนวนคนที่เดินอยู่ หรือการอ้อยอิ่งในสถานที่นั้นๆ
  • ศักยภาพในการเดินไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านขายของ ห้องสมุด ฯลฯ
  • ระยะเวลาในการเดินไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ต้องไม่เกิน 5 นาที หรือ 30 นาทีหากอยู่ในระยะไกล
  • ประเภทของทางเท้า ความกว้างของทางเท้า ความปลอดภัยจากการเดิน และความดึงดูดใจในการเดิน
  • ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น สภาพอากาศ ระบบขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

การวัดผล วัดเป็นคะแนน มีค่าตั้งแต่ 0 -100 เป็นคะแนนที่ดูภาพรวมหลายๆองค์ประกอบตามที่กล่าวข้างต้น วัดจากทางเดินเท้า การเดินไปยังสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเดินไปยังระบบขนส่งสาธารณะ ที่สำคัญยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและบริบทของการเดินด้วย

การเติบโตของ เมืองเดินได้ (Walkable City)

การเติบโตของเมืองเดินได้ที่ทำสำเร็จในปัจจุบัน มีผลลัพธ์ที่ชัดเจนนั้นมีให้เห็นมากในแถบยุโรป หรือเอเชียตะวันออก เช่น ฮ่องกง หรือญี่ปุ่น ฯลฯ แต่มีหลายๆประเทศที่เร่งพัฒนาเมืองเดินได้ให้เป็นรูปธรรม เพราะเหตุใด???

นั่นเป็นเพราะว่า เมืองเดินได้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง หรือประเทศเติบโตได้อย่างง่ายดาย เศรษฐกิจท้องถิ่นหรือชุมชนจะมีการขยับขยายเติบโต การวางผังเมืองมีส่วนสำคัญที่ทำให้เมืองมีคุณภาพต่อคนเดินเท้า ทำให้เมืองมีสภาพแวดล้อมที่ดี คนก็มีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น อุบัติเหตุและอาชญากรรมจะลดน้อยลง

เมืองโบโกตา (Bogotá) ประเทศโคลอมเบีย เป็นเมืองคนเดินเป็นรูปธรรมชัดเจน ปลอดรถยนต์ มีทางจักรยาน มีพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชน ขนาดของเมืองไม่ใหญ่จนเกินไป ทำให้เมืองโบโกตาเป็นเมืองต้นแบบเมืองคนเดินที่ต้องลองไปสัมผัสและศึกษา

ในประเทศไทยของเรา ผู้เขียนมองว่า มีหลายๆอย่างที่ต้องพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข โดยเฉพาะทางเท้า ความปลอดภัยที่จะเดินบนทางเท้าตลอดเส้นทางยังมีไม่ชัดเจน และไม่สามารถวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้ เรามีนักคิดมากมาย มีทฤษฎีที่นำเสนอน่าสนใจหลากหลาย แต่การลงมือทำ ลงปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงยังมีน้อย ทำให้ผู้เขียนหวังว่า จะมีนักคิดและเป็นนักปฏิบัติด้วยสามารถลุกขึ้นมาช่วยกันพัฒนาเมืองไทยให้เป็นเมืองที่เพลิดเพลินเวลาเดิน มีความสุขอย่างแท้จริง

อ่านบทความเพิ่มเติม : การเติบโตของเมืองจักรยานในปัจจุบัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here