ผลงาน

จัตุรัสสีดำ (Black Square)

ภาพวาดจัตุรัสสีดำ โดยคาซิเมียร์ มาเลวิช

เป็นผลงานที่มาเลวิชนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการ “0.10 Exhibition” ในเมืองเปโตรกราด ประเทศรัสเซีย ในปี 1915 ผลงานศิลปะชิ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในหลักการซูพรีมมาตีสม์ของมาเลวิชดีที่สุด ผลงานชื้นนี้ตามข้อมูล ถูกวาดมา 4 ครั้ง ซึ่งนักวิจารณ์ ตามบันทึกประวัติศาสตร์ศิลปะคาดการณ์ว่าการวาดครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในช่วงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 มีรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ว่า ภาพวาดจัตุรัสสีดำของมาเลวิช มีการทาสีทับซ้อนกันหลายชั้นจนทำให้เกิดสีสัน นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และนักวิจารณ์ศิลปะส่วนใหญ่มองว่าผลงาน “จัตุรัสสีดำ” ถือเป็นผลงานที่สำคัญของยุคศิลปะโมเดิร์น

มาเลวิชได้พูดถึงภาพวาดจัตุรัสสีดำของเขาว่า “มันมีที่มาจากเลขศูนย์ ในเลขศูนย์เป็นการขับเคลื่อนที่แท้จริงของการเริ่มต้น ผมได้เปลี่ยนแปลงตัวผมเองให้คงความเป็นศูนย์ ก้าวออกมาจากความไม่มีอะไร นำไปสู่การสร้างสรรค์ นั่นคือ หลักการของซูพรีมมาตีสม์ เป็นการวาดภาพเหมือนจริงแบบใหม่ ไปสู่การสร้างสรรค์ที่ไม่มีขอบเขต” เขาได้กล่าวว่างานจัตุรัสสีดำชิ้นนี้เป็นงานในรูปแบบซูพรีมมาตีสม์

ลักษณะภาพวาดจัตุรัสสีดำ เป็นการต่อยอดหลักทฤษฏีซูพรีมมาตีสม์ที่เขาคิดขึ้นมา เกิดจากการที่เขาได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคิวบิสม์ (Cubism) และมองว่ามันยังเป็นรูปแบบศิลปะนามธรรมไม่มากพอ จึงเกิดการวาดภาพสีเหลี่ยมจัตุรัสสีดำขึ้นมา ใช้การทาสีอื่น ๆ ทับกันหลายชั้นจนเกิดเป็นสีดำสนิทบนพื้นกระดาษสีขาว เป็นองค์ประกอบภาพที่ดูเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยรายละเอียดของการใช้ฝีแปรง รอยนิ้วมือ หรือแม้แต่รอยสีอื่นๆที่อยู่ใต้ชั้นสีดำที่แตกออกเป็นรอยร้าว ในมุมมองของมาเลวิชสื่อว่า ให้มองงานศิลปะโดยปราศจากตรรกะและเหตุผล เพราะความจริงสามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึกเท่านั้น ภาพนี้ในมุมมองของศิลปิน จัตุรัสสีดำ เปรียบเสมือนความรู้สึก และพื้นหลังสีขาว สื่อถึงความว่างเปล่า

อีกนัยหนึ่ง มาเลวิชมองว่า จัตุรัสสีดำคือตัวแทนพระเจ้า หรือเป็นสัญลักษณ์พระเจ้าในแบบของเขาเอง สุดท้ายแล้วภาพนี้จึงเหมือนภาพศักดิ์สิทธิ์ของงานศิลปะโมเดิร์น ในงานนิทรรศการมักจะนำภาพจัตุรัสสีดำไปติดตั้งไว้บริเวณมุมห้อง ตามความเชื่อและธรรมเนียม เป็นสัญลักษณ์ของนิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่งจะถูกติดตั้งไว้ในบ้านของรัสเซีย

องค์ประกอบของซูพรีมมาตีสม์ (Suprematist Composition)

ภาพวาด Suprematist Composition โดยคาซิเมียร์ มาเลวิช

ภาพวาดซูพรีมมาตีมส์ เป็นภาพวาดศิลปะนามธรรมรูปทรงเรขาคณิต ถูกวาดในปี 1916 ซึ่งมาเลวิชได้นำภาพองค์ประกอบของซูพรีมมาตีสม์มาจัดแสดงที่นิทรรศการศิลปะ Great Berlin ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี ต่อมาหลังจากที่มาเลวิชอพยพออกจากสหภาพโซเวียต เขาได้นำภาพวาดเขาให้กับสถาปนิกนามว่า ฮูโก ฮาริง (Hugo Häring) ถัดมาได้นำมาขายต่อให้กับพิพิธภัณฑ์สเตเดลิจค์ อัมสเตอร์ดัม มันถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ยาวนานถึง 50 ปี นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ต่อสู้ด้วยกฏหมายว่าใครคือเจ้าของที่แท้จริงของภาพวาดชิ้นนี้ ซึ่งกินเวลาไปกว่า 17 ปี จนภาพวาดนี้ได้กับไปสู่อ้อมแขนของทายาทมาเลวิชที่แท้จริง ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 แต่ทว่าทายาทของมาเลวิชได้นำภาพวาดนี้ขายต่อให้กับตะกูลเศรษฐี อย่างตะกูลนาห์แมด (Nahmad) มูลค่า 60 ล้านดอลลาห์ ในปี 2018 ถือเป็นราคาประมูลภาพวาดศิลปะสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะของรัสเซีย

สีขาวบนสีขาว (White on White)

ภาพวาดสีน้ำมัน “White on White” โดยคาซิเมียร์ มาเลวิช

ภาพวาดสีขาวบนสีขาว เป็นภาพวาดสีน้ำมันอีกภาพที่แสดงถึงลัทธิซูพรีมมาตีสม์ สื่อถึงความไม่มีที่สิ้นสุดของตัวศิลปินเอง มาเลวิชมีความหลงใหลเครื่องบิน เขาใช้เวลาศึกษาภาพถ่ายทางอากาศจำนวนมาก เพื่อให้ภาพวาดสีขาวบนสีขาวนี้สร้างความรู้สึกของการล่องลอยไปบนท้องฟ้า และการอยู่เหนือธรรมชาติ มาเลวิชเชื่อว่า สีขาวเป็นสีที่แสดงถึงความไม่มีที่สิ้นสุด และแสดงถึงสถานะที่สูงกว่า เป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์ในโลกอุดมคติ

ความจริงที่มาเลวิชมาตั้งทฤษฏี “ซูพรีมมาตีสม์” เพื่อแสดงแสดงความบริสุทธิ์ที่แท้จริงของศิลปะ ในปี 1918 หลังเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซีย การสื่อความหมายของภาพวาดนี้เปลี่ยนไป มันเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมและการเมือง ซึ่งมาเลวิชได้บอกว่า “ผมได้เอาชนะเส้นขอบฟ้าหลากหลายสีได้แล้ว แหวกว่ายไปบนห้วงสีขาวที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้อยู่ตรงหน้าของคุณแล้ว”  นอกจากนี้มาเลวิชยังตั้งใจจะสื่อถึงการนำเสนอภาพศิลปะรูปแบบใหม่ ไม่มีสี ไม่มีความลึก ไม่มีรูปทรง และรายละเอียด เหลือเพียงแต่เรขาคณิตสีขาวที่ดูเรียบง่าย มาเลวิชตั้งใจให้ภาพสี่เหลี่ยมของเขาให้ดูเอียง เหมือนมันกำลังหลุดออกมาจากผืนผ้าใบ เขาตั้งใจให้ภาพดูเหมือนกำลังล่องลอย ความหมายของการเอียงเพียงเล็กน้อย สื่อถึงการเคลื่อนไหว

ผลงาน White on White ของมาเลวิช ถูกจัดแสดงที่เบอร์ลินในปี 1927 โดยจัดแสดงที่นิทรรศการศิลปะ Great Berlin ต่อมาเมื่อเขากลับมาที่เลนินกราด เขาได้นำภาพวาดชิ้นนี้ทิ้งไว้กับสถาปนิกชื่อฮูโก ฮาริง (Hugo Häring) ถัดมาในปี 1930 เขานำภาพวาดนี้ส่งให้กับอเล็กซานเดอร์ ดอร์เนอร์ (Alexander Dorner) เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โพรวินเซียลมิวเซียม ในเมืองฮาโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เพื่อเก็บซ่อนภาพวาดชิ้นนี้จากพรรคนาซี ในช่วงที่นาซีมีอำนาจเต็มที่ แต่หลังจากที่นาซีล่มสลาย มาเลวิชไม่ได้ขอผลงานคืนจากพิพิธภัณฑ์ และเขาได้เสียชีวิตลงในปี 1935 โดยไม่ได้สั่งเสียบอกกล่าวกับทางพิพิธภัณฑ์เลยว่า ต้องทำอย่างไรกับผลงานชิ้นนี้ มันจึงถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่(Museum of Modern Art) ในนิวยอร์ก ผ่านไปหลังจากนั้นจนเข้าสู่ปี 1999 มีการยืนยันจากพินัยกรรมของตะกูลของมาเลวิช ได้มีการซื้อภาพวาดต้นฉบับนี้คืนกลับไป

อ่านบทสรุปต่อหน้า 3

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here