Kazimir Malevich ศิลปินผู้บุกเบิกสิลปะแอบสแตกอาร์ตในศตวรรษที่ 20

คาซิเมียร์ มาเลวิช (Kazimir Malevich) เป็นศิลปินหัวก้าวหน้าชาวรัสเซียและเป็นนักทฤษฎีศิลปะ มีผลงานศิลปะ ผลงานเขียนหนังสือ และเป็นนักบุกเบิกที่มีส่วนในการพัฒนาศิลปะนามธรรม (Abstract art) ในช่วงศตวรรษที่ 20 มาเลวิซเกิดที่เมืองเคียฟ (Kyiv) ประเทศยูเครน ในครอบครัวชาวโปแลนด์ แนวคิดศิลปะในรูปแบบศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism) ที่เขาคิดขึ้นมา เป็นการพัฒนาศิลปะที่แสดงออกถึงการขับเคลื่อนไปให้ไกลจากโลกธรรมชาติมากที่สุด (รูปทรงทางธรรมชาติ) และตัดทอนรายละเอียดอื่น ๆ ออก เพื่อคงความเป็นรูปแบบศิลปะบริสุทธิ์และมีจิตวิญญาณที่แท้จริง ในบางครั้ง มาเลวิซยังถูกมองว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มศิลปินแนวหน้าของยูเครนร่วมกับศิลปินอื่น ๆ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ อาร์ชิเปนโก , โซเนีย เดลาอูเนย์ (Sonia Delaunay) , อเล็กซานดรา เอ็คสเตอร์ (Aleksandra Ekster) และเดวิด เบอร์ลิค (David Burliuk) ทำให้มาเลวิชได้ถูกหล่อหลอมแนวคิดและการทำงานในช่วงต้นในยูเครน ต่อมาก้าวกระโดดการทำงานไปยังทวีปยุโรปและอเมริกา

ในการทำงานศิลปะระยะแรกของมาเลวิช ยังไม่มีสไตล์ชัดเจน โดยดำเนินงานศิลปะตามรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) สัญลักษณ์นิยม (Symbolism) และคติโฟวิสต์ (Fauvism) ต่อมาเขาได้ไปเยือนกรุงปารีสในปี 1912 ศิลปะแบบคิวบิสม์ได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้สไตล์งานของเขาในเวลาต่อมา เริ่มลงความซับซ้อนลง เกิดการพัฒนางานศิลปะที่ใช้องค์ประกอบของรูปทรงเรขาคณิตหลายๆรูปทรงประกอบกัน ตัดทอนรายละเอียดที่ไม่สำคัญออกไป อย่างงาน “Black Square” งานศิลปะสี่เหลี่ยมจัตตุรัสสีดำของเขา เป็นสี่เหลี่ยมสีดำบนกระดาษสีขาว ถือเป็นงานศิลปะนามธรรมที่ดูรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเขามีงานศิลปะที่ชื่อ “White on White” (ปี 1918) เป็นการวาดสี่เหลี่ยมสีขาวนวลวางลงบนพื้นกระดาษสีขาว ไม่มีรายละเอียดใด ๆ เพื่อสื่อแนวคิดในอุดมคติของเขาถึง ความเป็นนามธรรมโดยเนื้อแท้ นอกจากภาพวาดศิลปะ มาเลวิชยังคิดทฤษฎีศิลปะและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ทฤษฎี “From Cubism and Futurism to Suprematism” (ปี 1915) และทฤษฎี “The Non-Objective World: The Manifesto of Suprematism” (ปี 1926)

ทฤษฏีศิลปะของมาเลวิชในปี 1915 และปี 1926

วิถีทางศิลปะของมาเลวิชในหลาย ๆ ครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงความโกลาหลต่างๆทางการเมือง เช่น การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) ในปี 1917 ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ เกิดการเคลื่อนไหวศิลปะแบบซูพรีมาตีสม์ที่เขาคิดขึ้น และรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) คิดโดยวลาดีมีร์ ตัตลิน (Vladimir Tatlin) เบื้องหลังได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลในยุคสมัยทรอตสกี ทำให้มาเลวิชเติบโตในหน้าที่การงาน ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ และได้จัดงานนิทรรศการผลงานศิลปะของตนเองในกรุงมอสโก ปี 1919 ต่อมาได้ไปจัดนิทรรศการในวอร์ซอและเบอร์ลิน ตั้งแต่ปี 1928 – 1930 ในด้านการศึกษา เขาได้ไปสอนหนังสือที่สถาบันศิลปะเมืองเคียฟ (Kiev Art Institute) ร่วมกับอเล็กซานเดอร์ โบโกมาซอฟ , วิคเตอร์ ปาล์มอฟ และวลาดีมีร์ ตัตลิน นอกจากนี้มาเลวิชยังได้ตีพิพ์บทความลงนิตยสารคาร์กิว (Kharkiv magazine) แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในยูเครน ส่งผลกระทบต่อเหล่าปัญญาชน ทำให้เขาต้องกลับไปที่แคว้นเลนินกราด (Leningrad) นับตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา รูปแบบศิลปะสมัยใหม่ไม่ได้รับความนิยมต่อ เป็นยุครัฐบาลของโจเซฟ สตาลิน ทำให้มาเลวิชถูกถอดจากตำแหน่งอาจารย์ ผลงานศิลปะทุกชิ้นของเขาทุกชิ้นถูกรัฐบาลยึดเอาไว้ และถูกสั่งไม่ให้เขาทำงานศิลปะอีก เขาถูกตัดสินให้จำคุกเป็นระยะเวลาสองเดือน เนื่องจากเขาถูกสงสัยว่าเป็นสายสืบ เนื่องจากมีประวัติเดินทางไปโปแลนด์และเยอรมนี เขาถูกสั่งให้เลิกทำศิลปะนามธรรม เขาจึงหันไปวาดภาพศิลปะเลียนแบบแทน ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี 1935 ด้วยอายุเพียง 56 ปี

อย่างไรก็ตาม งานศิลปะและผลงานเขียนของคาซิเมียร์ มาเลวิชมีอิทธิพลต่อศิลปินร่วมสมัยหลาย ๆ คน เช่น เอล ลิสซิตซกี (El Lissitzky) , ลิวบอฟ โปโปว่า (Lyubov Popova) และอเล็กซานเดอร์ รอดเชนโก้ (Alexander Rodchenko) รวมไปถึงศิลปินนามธรรมรุ่นหลัง เช่น แอ็ด ไรน์ฮาร์ดต (Ad Reinhardt) และเป็นศิลปินที่วาดภาพแนวมินิมัลลิสม์ หลังจากที่คาซิเมียร์ มาเลวิชได้เสียชีวิต วงการศิลปะได้จัดนิทรรศการศิลปะของเขาตามพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญในยุโรป เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (Museum of Modern Art) ในปี 1936 , พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ (Guggenheim Museum) ในปี 1973 และพิพิธภัณฑ์สเตเดลิจค์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม (Stedelijk Museum in Amsterdam) ในปี 1989 ภายในพิพิธภัณฑ์มีผลงานของเขาถูกจัดแสดงเป็นจำนวนมาก

ชีวิตวัยเยาว์

คาซิเมียร์ มาเลวิช

คาซิเมียร์ มาเลวิช เกิดมาในครอบครัวชาวโปแลนด์ ในเมืองเคียฟ พ่อแม่ของเขานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกเช่นเดียวกับชาวโปแลนด์ส่วนใหญ่ แม้บางครั้งครอบครัวของเขาจะเข้าไปร่วมพิธีกับกลุ่มนิกายออร์โธดอกซ์ด้วย ด้วยความเป็นอยู่หลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เขาสามารถพูดภาษาโปแลนด์ ภาษารัสเซีย และภาษายูเครนได้ แม่ของเขาชื่อ “ลุดวิกา” มักจะเขียนบทกวีและบทเพลงเป็นภาษาโปแลนด์ และสะสมเรื่องราวของชาวโปแลนด์เก็บไว้ ทำให้เวลาผ่านไป มาเลวิซเริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะของตัวเองเป็นภาษายูเครน

พ่อของเขาทำงานบริหารจัดการโรงงานที่ผลิตน้ำตาล เขามีพื้นฐานครอบครัวมีพี่น้องทั้งหมด 14 คน เขาเป็นลูกคนโต พี่น้องทั้งหมดรอดชีวิตมาได้เก้าคน ที่เหลือเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ครอบครัวของเขามีการโยกย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง จนมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านของประเทศยูเครน ที่มีไร่น้ำตาลบีทรูทอยู่ไกลออกไป ชีวิตของเขาในวัยเด็กทำให้เห็นว่าเขาดูห่างไกลจากการเป็นศิลปิน เขาไม่รู้จักอาชีพศิลปิน ตอนนั้นเขาพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตแบบชาวนา นั่งเย็บปักถักร้อย และดูแลบ้าน แต่เขามีความสามารถในการวาดรูปแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง เขาจึงได้ไปเรียนด้านศิลปะ การวาดภาพในเมืองเคียฟ ตั้งแต่ปี 1895 – ปี 1896

อาชีพศิลปิน

ตั้งแต่ปี 1896 ถึงปี 1904 เขาอาศัยอยู่ในเมืองเคิร์สต์ ต่อมาในปี 1904 พ่อแม่ของเขาได้เสียชีวิต เขาจึงตัดสินใจย้ายไปกรุงมอสโคว์ เข้าไปศึกษาต่อที่โรงเรียนจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมแห่งกรุงมอสโก ตั้งแต่ปี 1904 – ปี 1910 และได้เป็นเรียนรู้งานสิลปะในสตูดิโอของฟีดอร์ เรอร์เบิร์ก (Fedor Rerberg) ในปี 1911

ในปี 1911 – ปี 1912 เขาได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการศิลปะร่วมกับศิลปินอื่น ๆ ได้แก่ วลาดีมีร์ ตัตลิน และอเล็กซานดรา เอ็คสเตอร์ ถึง 3 ครั้ง ในกรุงมอสโก ในช่วงเวลานั้น ผลงานศิลปะของเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย ได้แก่ นาตาเลีย กอนชาโรวา ( Natalia Goncharova ) และมิคาอิล ลาริโอนอฟ (Mikhail Larionov) เป็นศิลปินที่มีรูปแบบงานศิลปะรัสเซียพื้นถิ่นที่เรียกว่า “ลูบก (lubok)” มาเลวิชได้บอกว่าสไตล์งานศิลปะของเขาในช่วงนี้เรียกว่า “คิวโบ ฟิวเจอร์ริสท์ (Cubo-Futurist)”

คิวโบ ฟิวเจอร์ริสท์ (Cubo-Futurist) โดยคาซิเมียร์ มาเลวิช

ในเดือนมีนาคม ปี 1913 มีการเปิดตัวนิทรรศการศิลปะของอริสทาร์ค เลนตูลอฟ (Aristarkh Lentulov) ในกรุงมอสโก ทำให้เกิดผลกระทบให้กับเหล่าศิลปินหลาย ๆ คนในรัสเซีย รวมไปถึงตัวมาเลวิชเองด้วย พวกเขาค่อยๆซึมซับศิลปะรูปแบบคิวบิสม์ (หรือที่เรียกว่า บาศกนิยม) โดยนำหลักการมาใช้ในงานศิลปะกันมากขึ้น

ในปี 1914 มาเลวิชได้จัดแสดงผลงานของเขาที่สมาคมศิลปินอิสระ (Salon des Indépendants) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับศิลปินอื่น ๆ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ อาร์ชิเปนโก , โซเนีย เดลาอูเนย์ , อเล็กซานดรา เอ็คสเตอร์ และวาดิม เมลเลอร์ นอกจากนี้เขายังได้ร่วมจัดแสดงผลงานร่วมกับพาเวล ฟิโลนอฟ (Pavel Filonov) ในช่วงปีเดียวกัน เขาได้สร้างภาพพิมพ์หินเพื่อใช้เป็นการสนับสนุนรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาพพิมพ์ทั้งหมดถูกเขียนคำบรรยายโดยวลาดีมีร์ มายาคอฟสกี โดยจัดพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ Segodniashnii Lubok ผลงานของเขาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิมของรัสเซีย และเพิ่มเอกลักษณ์ด้วยบล็อกสีบริสุทธิ์ซึ่งถือเป็นงานศิลปะในรูปแบบซูพรีมาตีสม์ที่เขาคิดขึ้น

มาเลวิชได้ออกแบบขวดโคโลญ มีรูปทรงเหมือนภูเขาน้ำแข็ง มีหมีขาวเกาะอยู่บนฝาขวด

นอกจากการผลิตผลงานศิลปะ มาเลวิชยังเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เขาได้ออกแบบขวดน้ำหอมให้บริษัทโบรการ์ด แอนด์ โค (Brocard & Co.) ในปี 1911 ทางบริษัทได้ผลิตโคโลญจน์โอ เดอ โคโลญ (eau de cologne) ชื่อ “เซเวอร์นี่ (Severny) โดยเขาออกแบบขวดโคโลญจน์ให้มีลักษณะเหมือนภูเขาน้ำแข็ง มีหมีขาวขั้วโลกเกาะอยู่บนฝาขวด ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้วางจำหน่ายไปถึงกลางทศวรรษที่ 1920

ศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism)

หนังสือทฤษฏี From Cubism to Suprematism

ในปี 1915 มาเลวิชได้วางรากฐานทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะซูพรีมาตีสม์ เขาได้ตีพิพม์หลักการที่ชื่อว่า “From Cubism to Suprematism” ในช่วงปี 1915 – ปี 1916 เขาได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มศิลปินซูพรีมาตีสม์คนอื่น ๆ และช่างฝีมือในหมู่บ้านนสคอปซีและแวร์บอฟกา นอกจากนี้เขายังได้ร่วมจัดนิทรรศการศิลปะในกรุงมอสโกร่วมกับกลุ่มศิลปินชื่อว่า “Jack of Diamonds” ประกอบด้วย นาธาน อัลท์แมน , เดวิด เบอร์ลิค , อเล็กซานดรา เอ็คสเตอร์ และศิลปินคนอื่น ๆ ผลงานศิลปะแบบซูพรีมาตีมส์ของมาเลวิชที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผลงาน Black Square และผลงาน White on White

นิทรรศการ 0,10 Exhibition

มาเลวิชได้จัดแสดงนิทรรศการผลงาน “Black Square” เป็นครั้งแรกที่เทรตยาคอฟ แกลลอรี (Tretyakov Gallery) กรุงมอสโก ต่อมาเขาได้ไปจัดงานนิทรรศการ “0,10 Exhibition” ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (ปี1915) ผลงานแบล็คสแควร์นี้เคยปรากฏอยู่ในฉากละครโอเปร่า “Victory over the Sun” ในช่วงปี 1913 ต่อมาภาพวาดแบล็คสแควร์ปรากฏขึ้นครั้งที่ 2 ถูกวาดขึ้นในปี 1923 และครั้งที่ 3 ถูกวาดขึ้นในปี 1929 เป็นการจัดนิทรรศการเดี่ยวของมาเลวิช เนื่องจากภาพวาดสี่เหลี่ยมสีดำชิ้นนี้เริ่มเสื่อมสภาพในช่วงปี 1915 จึงได้วาดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยวาดคู่กับภาพ “เรดสแควร์ (Red Square)” เพื่อนำไปแสดงที่นิทรรศการ “Artists of the RSFSR: 15 Years” ที่เลนินกราด (ปี 1932) ภาพจัตุรัสสีดำและสีแดง ซึ่งผลงานทั้งสองชิ้นถือเป็นจุดเด่นของงานในครั้งนั้น

ภาพวาด Black Square และ Red Square

อันนา เลพอร์สกายา (Anna Aleksandrovna) เป็นลูกศิษย์ของมาเลวิชได้ตั้งข้อสังเกตอาจารย์ของตนเองว่า “ไม่มีใครรู้หรอกว่าสี่เหลี่ยมสีดำนี้ภายในบรรจุอะไรอยู่ เขาชอบคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญถึงขั้นไม่กินไม่นอนเป็นอาทิตย์ เพื่อรังสรรค์ลงานออกมา”

ในปี 1918 มาเลวิชรับงานออกแบบภาพตัวละครเรื่อง  Mystery-Bouffe เขียนโดยวลาดีมีร์ มายาคอฟสกี (Vladimir Mayakovsky) นอกจากนี้มาเลวิชยังมีความสนใจด้านอื่น ๆ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศ และเรื่องของการบิน ความสนใจเหล่านี้นำพาเขาไปสู่งานศิลปะนามธรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพถ่ายทางอากาศนั่นเอง แต่ก็มีนักเขียนบางกลุ่มได้มีข้อโต้แย้งว่า ศิลปะซูพรีมาตีสม์ที่มาเลวิชคิดขึ้นมา แท้จริงแล้วมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมพื้นถิ่นของยูเครน

ยุคหลังปฏิวัติ

หลังเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) ปี 1917 มาเลวิชได้เข้าไปเป็นสมาชิกของวิทยาลัยศิลปะแห่งนาร์คอมโปร (Collegium on the Arts of Narkompros) เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการคุ้มครองอนุสาวรีย์และพิพิธภัณฑ์ (ปี 1918 – ปี 1919) นอกจากนี้เขาและมาร์ก ชากาล(จิตรกรชาวเบราลุส) ได้ไปสอนหนังสือที่โรงเรียนศิลปะปฏิบัติการวิเต็บสค์ (Vitebsk Practical Art School) ในประเทศเบลารุส (ปี 1919 – ปี 1922) ต่อมาเขาได้ไปสอนที่สถาบันศิลปะเลนินกราด (ปี1922 – ปี 1927) และสถาบันศิลปะเคียฟ (ปี 1928 – ปี 1930)

เขาได้เขียนหนังสือชื่อว่า “The World as Non-Objectivity” ได้ตีพิมพ์ที่มิวนิกในปี 1926 และถูกนำมาแปลภาษาอังกฤษในปี 1959 เนื้อหาในหนังสือเป็นการสรุปทฤษฏีศิลปะซูพรีมาตีสม์ของเขาเอง

ศิลปะรูปแบบซูพรีมาตีสม์

ในปี 1923 มาเลวิชได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันศิลปะ Petrograd State Institute of Artistic Culture สุดท้ายสถาบันแห่งนี้ได้ปิดตัวลงในปี 1926 ส่วนหนึ่งมาจากบทความในหนังสือพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เขียนถึงสถาบันแห่งนี้ว่า “มันคือศาสนสถานที่มีรัฐบาลคอยหนุนหลังอยู่” แล้วยังเขียนเสริมต่อว่า “ภายในมีแต่เทศนาให้ต่อต้านการปฏิวัติและเสพแต่งานศิลปะ” ในสมัยนั้นโซเวียตได้มีการส่งเสริมศิลปะที่เน้นความเป็นอุดมคติและสามารถใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อได้ เป็นรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า “สัจนิยมสังคมนิยม (Socialist Realism)” ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะที่มาเลวิชไม่อยากทำเลยในชีวิตของการเป็นศิลปิน แต่เขาทำได้แค่ตามน้ำไปก่อน ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์อย่างลับ ๆ

ชื่อเสียงและการถูกแบน

ในปี 1927 มาเลวิชได้เดินทางไปยังเมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้รับการต้อนรับอย่างดีเยี่ยงวีรบุรุษ ที่นี่เขาได้พบกับวลาดีสลาฟ สเตรเซมินสกี้ (Władysław Strzemiński) ผู้เป็นศิลปินและอดีตลูกศิษย์ของเขา และคาทาร์ซิน่า โคโบร (Katarzyna Kobro) ศิลปินหญิงชาวรัสเซีย ทั้งสองคนกำลังขับเคลื่อนรูปแบบศิลปะของพวกเขา ใช้ชื่อว่า “ยูนิซึม (Unism)” เป็นรูปแบบที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลจากผลงานของมาเลวิช เขาได้จัดงานนิทรรศการในต่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้เขาเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับสากล ในขณะนั้นมาเลวิชคิดว่าเขาจะทิ้งผลงานที่เขารังสรรค์มาไว้ที่นี่ ก่อนที่เขาจะกลับไปโซเวียตอีกครั้ง เพราะมาเลวิชมีลางสังหรณ์ว่าอุดมการณ์ของโซเวียตที่มีต่อศิลปะจะเปลี่ยนไปเมื่อเกิดการล่มสลายของรัฐบาลในยุควลาดิมีร์ เลนิน และลีออน ทรอตสกี

ผลสุดท้ายการคาดการณ์ของมาเลวิชถูกต้อง เมื่อรัฐบาลของโจเซฟ สตาลินได้เข้ามาปกครองโซเวียต เกิดการต่อต้านศิลปะนามธรรมทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า ศิลปะนามธรรมเหล่านี้เป็นศิลปะประเภท “พวกชนชั้นกลาง” ที่ไม่สามารถสื่อเรื่องราวความเป็นจริงในสังคมได้ ทำให้เขาถูกสั่งห้ามไม่ให้จัดนิทรรศการศิลปะอีก

โจเซฟ สตาลิน ผู้ต่อต้านศิลปะนามธรรมทั้งหมด

ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1930 มาเลวิชถูกจับกุมและถูกสอบปากคำโดยคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (KGB) ที่เมืองเลนินกราด เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นหน่วยสืบราชการลับให้กับโปแลนด์ มีโทษถึงประหารชีวิต แล้วนำเขาไปขังคุกเพื่อรอประหาร แต่ผลสุดท้ายเขาได้รับการปล่อยตัวออกมาเป็นอิสระ

ความตาย

มาเลวิชได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในวัย 57 ปี ในเมืองเลนินกราด เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 1935 เพื่อน ๆ และลูกศิษย์ของเขาได้ฝังเถ้ากระดูกไว้ในหลุมศพที่มีรูปจัตุรัสสีดำ พวกเขาไม่ได้ทำตามที่มาเลวิชได้สั่งเสียไว้ว่า ให้มีรูปสถาปัตยกรรมอยู่ด้านบนหลุมศพ เป็นรูปที่มีลักษณะคล้ายกับตึกระฟ้าแบบนามธรรมและกล้องโทรทรรศที่สามารถส่องเห็นดาวพฤหัสได้

บนเตียงที่มาเลวิชนอนเสียชีวิต เขาเคยใช้เตียงของเขาจัดแสดงผลงานรูปจัตุรัสสีดำอันโด่งดังของเขา มีผู้มาร่วมไว้อาลัยหน้าศพของเขาได้รับอนุญาตให้ร่วมโบกธงที่มีรูปจัตุรัสสีดำ ก่อนตายมาเลวิชได้บอกว่าให้นำร่างของเขาไว้ใต้ต้นโอ๊คในแถบชานเมืองเนมชินอฟกา เป็นสถานที่ที่เขามีความรู้สึกผูกพันเป็นอย่างมาก ส่วนเถ้ากระดูกของเขานำไปฝังไว้ในทุ่งนาใกล้กับบ้านพัก เพื่อนของเขา นิโคไล ซวยติน (Nikolai Suetin) เป็นศิลปินเช่นเดียวกัน ได้ออกแบบลูกบาศก์สีขาวและสี่เหลี่ยมสีดำ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์สถานที่ฝังศพของมาเลวิช วิช แต่ในเวลาต่อมาอนุสรณ์สถานแห่งนี้ได้ถูกทำลายในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ภาครัฐของเมืองเลนินกราดได้มอบเงินบำนาญให้กับแม่และลูกสาวของเขา

ในปี 2013 เกิดการก่อสร้างตึกอพาร์ตเมนต์ทับที่ฝังศพของคาซิเมียร์ มาเลวิช ยังมีสุสานที่อยู่ข้าง ๆ กัน ถูกสร้างขึ้นในปี 1988 ปัจจุบันมีการล้อมรั้วภายในบริเวณนั้น

เทคนิคการวาดภาพ

จากการตั้งข้อสังเกตของนักประวัติศาสตร์ศิลป์และนักรังสีเทคนิคอย่าง มิลดา วิกตูรินา (Milda Victurina) ได้อธิบายว่า ภาพวาดของมาเลวิชมีการใช้เทคนิคทาสีทับซ้อนกันเพื่อให้ได้เม็ดสีที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมา ยกตัวอย่าง ผลงานศิลปะของมาเลวิช ใช้การทาสีซ้อนทับกันเป็นเลเยอร์ในการระบายสีแดง ทาสีดำด้านล่างและทับด้วยสีแดงด้านบน เมื่อเกิดรังสีของแสงได้สาดส่องผ่านชั้นสีทำให้สีกระทบผ่านตา ไม่ใช่สีแดง แต่เป็นสีที่ดูมืดสนิท เทคนิคที่ดูซับซ้อนในการทาทับซ้อนกันทำให้ผู้เชี่ยวชาญใช้ตรวจสอบผลงานที่ถูกลอกเลียนแบบว่าเป็นของแท้หรือปลอมได้

ความเป็นตัวตน

ตะกูลมาเลวิชเป็นหนึ่งในครอบครัวชาวโปแลนด์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรัสเซีย คาซิเมียร์ มาเลวิชเกิดในเมืองเคียฟ เป็นเมืองที่เคยเป็นดินแดนของโปแลนด์-ลิทัวเนีย ทำให้มาเลวิชสามารถพูดภาษาโปแลนด์และรัสเซียได้ ในช่วงที่เขาต้องเดินทางไปต่างประเทศ เขาขอวีซ่าไปประเทศฝรั่งเศส มาเลวิซได้อ้างว่าเขามีสัญชาติโปแลนด์

ในปี 1985 ซบิกนิว วาร์เปโชสกี้ (Zbigniew Warpechowski) ศิลปินชาวโปแลนด์ ได้จัดการแสดงที่มีชื่อว่า “Citizenship for a Pure Feeling of Kazimierz Malewicz” เพื่อให้เกียตริแก่คาซิเมียร์ มาเลวิช ในช่วงปี 2013 ตะกูลมาเลวิชและแฟนคลับได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรชื่อว่า “The Rectangular Circle of Friends of Kazimierz Malewicz” ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความเป็นชาวโปแลนด์ของมาเลวิช

มีข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์บอกว่า แท้จริงแล้วมาเลวิชเป็นจิตรกรชาวรัสเซีย บางส่วนบอกเขาเป็นชาวยูเครนมาตลอดชีวิต โดยใช้ข้อสันนิฐานว่าเขาประสบความสำเร็จในชีวิตช่วงที่อยู่รัสเซีย จนมาถึงปี 2022 ที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน สร้างแรงกดดันให้กับพรรคการเมืองในยูเครนให้เสนอชื่อ คาซิเมียร์ มาเลวิช เป็นศิลปินชาวยูเครน การประกาศเชื้อชาติออกไปในครั้งนี้ ทำให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนร่วมประกาศว่า มาเลวิชเป็นศิลปินชาวยูเครน และพิพิธภัณฑ์สเตเดลิจค์ประกาศเสริมว่า “ศิลปินชาวยูเครนที่มีเชื้อสายชาวโปแลนด์” แน่นอน การประกาศออกไปแบบนั้นทำให้รัสเซียต้องออกมาตอบโต้เช่นกัน เป็นประเด็นที่ยังเกิดความคลุมเครือและหาข้อสรุปไม่ได้ จนถึงปี 2023 ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ในเรื่องความเป็นตัวตนของมาเลวิช

ในยุควัฒนธรรมสมัยนิยม

นวนิยายเรื่อง Red Square และนวนนิยายเรื่อง The Art Thief

วิถีชีวิตของมาเลวิช มักจะสร้าแรงบันดาลใจให้กับศิลปินในยุคหลัง ๆใช้ในการอ้างอิงถึงการรังสรรค์ผลงาน นอกจากนี้เหตุการณ์ที่มีการขโมยผลงานศิลปะของมาเลวิชในรัสเซีย ทำให้เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนนวนิยายของมาร์ติน ครูซ สมิธ ( Martin Cruz Smith) เรื่อง “Red Square” และนวนนิยายของโนอาห์ ชาร์นีย์ เรื่อง “The Art Thief” เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพ “White on White” ของมาเลวิชที่ถูกขโมยไป รวมไปถึงการพูดถึงทฤษฏีซูพรีมาตีสม์ของมาเลวิชที่มีต่อวงการศิลปะ

ภาพโปสเตอร์กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2014 ประเทศรัสเซีย

คีธ โคเวนทรี่ ศิลปินชาวอังกฤษใช้ภาพวาดของมาเลวิชเพื่อใช้เป็นสํญลักษณ์ถึงแนวคิดยุคโมเดิร์น นอกจากนี้ในพิธิปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2014 ในเมืองโซชี ประเทศรัสเซีย ได้มีการฉายภาพธีมกีฬาที่มีลายเส้นของมาเลวิช เพื่อนำเสนอด้านศิลปะโมเดิร์นของรัสเซียในยุคศตวรรษที่ 20

ผลงานศิลปะของคาซิเมียร์ มาเลวิช อ่านต่อหน้า 2

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง : อิทธิพลในงานสถาปัตยกรรมของสถาปนิกหญิงที่ชื่อ Zaha Hadid

ข้อมูลประกอบบทความจาก : wikipedia.org

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here