OMA

พูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านสถาปัตยกรรม Rem Koolhaas เป็นสถาปนิกที่ทำหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ S M L XL หนังสือ Content หรือหนังสือ Delirious New York บทความนี้เป็นบทความสนทนาของ Rem Koolhaas ที่สัมภาษณ์โดย Beatriz Colomina(นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) ที่เล่าที่มาที่ไปถึงความคิดและเหตุผลของการทำหนังสือสถาปัตยกรรม ที่แตกต่างกับหนังสือรูปแบบอื่นอย่างไร

The Architecture of Publication (Rotterdam,February 2007)
[Rem Koolhaas in Conversation with Beatriz Colomina]

ตั้งแต่คุณเริ่มก่อตั้ง OMA ขึ้นมา งานของคุณที่เห็นชัดเจนที่มีความสัมพันธ์กันคือ งานสถาปัตยกรรมและงานสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งหนังสือของคุณส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับงานของคุณเอง ถ้าสังเกตดีๆแล้วเราจะไม่เคยเห็นตอนพิเศษอย่างพูดเรื่องเกี่ยวกับ OMA หรือหนังสือ El Croquis แม้กระทั่งของ AMOเอง ที่วิเคราะห์สารพัดอย่าง แต่กลับไม่มีบทวิเคราะห์ตัวมันเอง ไม่มีหนังสือที่พูดถึงตัวหนังสือเอง นั่นคือสิ่งที่ฉันต้องการจะทำ การสัมภาษณ์ครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเล่าเรื่องหนังสือเช่นกัน?
Rem : เหตุผลที่คุณพูดมาทั้งหมดชัดเจนมากและเป็นความจริง นั่นคือเราขาดในสิ่งที่คุณพูด

จริงๆแล้วคุณมีงานเขียนบันทึกของคุณเยอะมาก ย้อนกลับไปบทความบันทึกที่คุณเดินทางไปประเทศลากอส คุณเล่าให้ฟังได้ไหมว่าภายใต้ความสับสนวุ่นวายในเมืองลากอสนี้ว่ามีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง เมื่อเทียบกับงานของคุณซึ่งมีความเป็นโมเดิร์น ชัดเจน ตรงไปตรงมา ยกตัวอย่างเช่น ในปี2000 สำนักงานของคุณเริ่มต้นทำสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีจำนวนมาก เราต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในการทำหนังสือครั้งนี้ เมื่อวานนี้เรานับไปได้ประมาณ 200 หน้า?
Rem : ประเด็นนี้มันอาจทำให้คุณรู้อะไรเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าสิ่งที่ผมทำอยู่ก็ได้

สื่อสิ่งพิมพ์ของ OMA
หนังสือที่เขียนถึงเมืองลากอส

แน่นอนคุณรู้จัก Le Corbusier ซึ่งใช้เวลาทั้งชีวิตของเขาอุทิศให้กับการทำงาน และในชีวิตของเขา เขาได้เก็บข้อมูลที่บันทึกหมดทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี มีอยู่วันหนึ่งเขาไปเดินเล่นที่ชาดหาด และได้หยิบเปลือกหอยขึ้นมา เปลือกหอยชิ้นนี้เป็นหนึ่งในจำนวนที่สร้าง Le Corbusier ขึ้นมา
Rem: คุณคิดอย่างไรถึงพูดเกี่ยวกับ Le Corbusier

L’Esprit Nouveau ออกแบบโดย Le Corbusier

เขาเป็นคนที่เชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มต้น มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อในการกำหนดเป้าหมาย มีเรื่องที่ว่ามีใบเสร็จซักรีดของเขา หรือแม้กระทั่งใบเสร็จค่าโทรศัพท์ถูกบันทึกไว้ในข้อมูลของ L’Esprit Nouveau นี่คือเรื่องจริง เหมือนตำรวจเก็บข้อมูลหลักฐานเลย คุณเองก็ทำทำนองเดียวกันนี้คือสร้าง Le Corbusier กับมาอีกครั้ง
Rem: นั่นทำผมอึ้งไปเลย แล้วคุณรู้ไหมว่าสถาปนิกร่วมสมัยทำอะไรบ้าง

ฉันรู้ว่า Peter Eisenman ได้ขายข้อมูลงานของเขาให้กับ CCA (Canadian Centre for Architecture) คือไม่ใช่แค่ขายเก็บไว้เท่านั้นนะ แต่มันคือข้อมูลว่าเขากำลังทำอะไร เอาล่ะ กลับไปที่ OMA ที่ถูกก่อตั้งในปี 1975 ตอนนั้นยังถูกเรียกว่า  Groszstadt  คุณเคยพูดถึงมูลนิธิ Groszstadt ว่าเป็นมูลนิธิเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดนิทรรศการ และการวิจัย จริงๆแล้ว Groszstadt คืออะไร
Rem: มันเป็นเครื่องมือที่ไม่แสวงหาผลกำไร เขาใช้ บริษัท OMA ก็ไม่ได้ทำเงินมากมายแต่อย่างใด เราเลยจำเป็นต้องมีเงินทุนสำหรับใช้ในการแสดงความคิดและการนำเสนองาน ส่วนบริษัท AMO

คุณบอกว่าหนังสือ Groszstadt ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ AMO
Rem : ใช่ครับ มันเป็นการรื้อฟื้นทุกอย่าง ปรับปรุงแนวความคิดของสำนักงานใหม่ทั้งหมด เราเพียงเพิ่มสิ่งเก่าหนึ่งอย่างคือ Groszstadt และสิ่งใหม่อีกหนึ่งอย่างคือ Generics ให้กับ OMA และ AMO

แล้วGenerics คืออะไร?
Rem : มันคือความซับซ้อนของเนื้อหาต่างๆ บางครั้งมันทำให้ผมรู้สึกมึนได้เหมือนกันกับรูปแบบไอคอนที่มากเกินไป ผมคิดว่าการเทิดทูนบูชาสถาปัตยกรรมในปัจจุบันมันเกิดจากการสะสมความเชื่อผิดๆ เราเลยมีวิธีการว่า เรารื้อมันออกให้หมด เพื่อปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งเราเคยออกแบบวิธีการนี้มาแล้ว ตัวอาคารมีความเป็นกลางมาก(ไม่ยึดติดรูปแบบ)

เป็นอาคารทั่วไป (Generics Building)
Rem: ใช่ครับ ทำให้ OMA สามารถความสัมพันธ์กับแบรน์อื่นๆได้

คุณตั้งใจจะจดสิทธิบัตรใช่หรือไม่
Rem: แค่ในนามเท่านั้นน่ะครับ

หนังสือ Groszstadt Architektur

มีอย่างหนึ่งที่ฉันสงสัยเกี่ยวกับ Groszstadt ลองย้อนกลับไปแล้วพบว่าไม่มีใครรู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย จนกระทั่งตอนนี้ คนในบริษัทก็ไม่มีใครสามารถบอกได้เหมือนกัน Groszstadt เลยจากไปอย่าง……..
Rem: สงบ

คุณบอกว่าคุณชอบแค่ชื่อของมันเท่านั้น แต่ทำไมส่วนหนึ่งของหนังสือที่ตีพิมพ์ถึงใช้ชื่อ Groszstadt ซึ่งสำหรับฉันมันเป็นแค่ชื่อหนังสือของ Hilberseimer คุณคิดว่าอย่างไร?
Rem: ถ้าพูดตามหลักทั่วไปแล้ว มันคือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมหานคร(metropolis) เพื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างทวีปยุโรปและอเมริกา

แต่คุณเรียกมันว่า Groszstadt แทนที่จะเป็น Metropolis
Rem: นั่นเป็นความลับ ‘Metropolitan Architecture’ ปัจจุบันถูกเรียกกันผิดๆตรงข้ามในสิ่งที่เราทำอยู๋ คือว่าเรามีความสนใจอย่างมากในการกำหนดtypologies ของเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ Metropolis มันคือการนึกถึงโลก แต่ในบางทีเราก็นำมาใช้แทนกันเท่านั้น

the floating pool
Ludwig Hilberseimer สถาปนิกชาวเยอรมัน

Hilberseimer เลยไม่ได้นำมาอ้างอิงแล้ว?
Rem: ผมนำเขามาอ้างอิงตลอดแหละครับ เขาเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีเสมอมา อย่าง Generics ก็เป็นแนวความคิดของ Hilberseimer

ใช่ งานของเขาถือเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ฉันสนใจถึงความเกี่ยวข้องของเมืองและหนังสือ ซึ่งในหนังสือ AD ตอนพิเศษคุณได้พูดถึง OMA ว่ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากเมือง(urbanism) มาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่เพื่อการฟื้นฟูรูปแบบและวิถีชีวิตของเมือง ฟังดูแล้วมันมีความเกี่ยวข้องกันมากกับข้อมูลในหนังสือ Delirious New York ซึ่งระหว่างความคิดในการก่อตั้งบริษัท OMA กับหาข้อมูลเพื่อเขียนหนังสือ Delirious New York ความคิดไหนมาก่อน?
Rem: Delirious New York มาก่อน ผมจำได้ลางๆนะว่า ผมอยากจะทำอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับนิวยอร์ก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมถึงมาอเมริกา ในขณะเดียวกันผมมีความคิดอีกอย่างคือ เริ่มต้นเปิดสำนักงานร่วมกับ Elia [zenghelis] จากนั้นผมคิดว่าในปี 1975 เราอยู่ในมหาครแสงสีแห่งนี้ และจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ที่ที่ให้เราได้แสดงภาพโปสเตอร์ มันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นการมาของสระว่ายนำ้ลอยฟ้า(the floating pool) ในแมนแฮตตัน

ตอนนั้นคุณเป็นคนรับผิดชอบในงานนิทรรศการหรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในงาน
Rem: คนดูแลนิทรรศการ OMA คือ Margit Rowell (ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์)

หนังสือ Delirious New York
ผู้ร่วมงานหนังสือ Delirious New York

มันเป็นการจัดนิทรรศการครั้งแรกในการทำงานใช้หรือไม่? คุณบอกว่าคุณมาอเมริกาในปี 1972 และเริ่มเขียนหนังสือ Delirious New Yorkใช่ไหม
Rem: ประมาณปี72-73 ตอนนั้นผมอยู่ที่คอร์เนล ผมอยากทำอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับนิวยอร์ก ผมก็เลยเริ่มรวบรวมข้อมูล

คุณศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากไหน?
Rem : ส่วนใหญ่จะเป็นการอ่าน บางครั้งก็มาจากการสะสมของเล็กๆน้อยๆจากนิวยอร์ก มันเป็นเศษเสี้ยวของประชานิยมนิวยอร์ก

ของสะสมอย่างเช่น?
Rem : โปสการ์ด เราเคยสะสมโปสการ์ดมีประมาณ 10,000 ใบที่เกี่ยวกับนิวยอร์กล้วนๆ

Metropolitan Postcard Collectors Clubs
ถือเป็นชมรมขนาดใหญ่ที่ทุกคนจะนำเสนอโปสการ์ดต่างๆ
Metropolitan Postcard Collectors Clubs

แล้วคุณสะสมโปสการ์ด 10,000ใบของนิวยอร์กได้อย่างไร ได้มาจากไหน ร้านหนังสือหรือ?
Rem: ใช่ครับ มันมาจากร้านค้าเก่าๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่เราย้ายมาอยู่นิวยอร์ก พวกเราเคยอยู่ใน the Metropolitan Postcard Collectors Clubs ด้วย

Metropolitan เป็นชื่อสถานที่ที่คุณนำมาใช้กับ OMA ใช่หรือไม่ แล้วมันเป็นคลับรูปแบบไหน?
Rem : มันเป็นสถานที่นัดพบเจอกันทุกๆเดือนในย่านชานเมือง ที่นี่เหมือนเป็นอีกเมืองหนึ่ง ทุกคนจะมีโต๊ะของตัวเอง และพวกเรามีการแลกเปลี่ยนกันในแต่ละโต๊ะ แล้วนำโปสการ์ดที่ได้ใส่ลงในกล่องรองเท้า โปสการ์ดเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีค่ามาก เพราะหนึ่งในสามของหนังสือ Delirious New Yorkมาจากข้อมูลในโปสการ์ด  ผมพบว่าโปสการ์ดพวกนี้เป็นสื่อกลางของสถาปัตยกรรมในยุคนั้น มันมีโปสการ์ดอยู่สี่ใบที่เล่าถึงประวัติศาสตร์การออกแบบของ the Rockefeller Center (เปิดหนังสือ Delirious New York ให้ดู) และผมไม่สามารถหาข้อมูลได้ทุกที่ และข้อมูลเกือบทั้งหมดของ Cony Island มาจากโปสการ์ดเช่นกัน ปีนั้นเป็นปีที่น่าทึ่งมาก ตอนนั้นผมอยู่ที่คอร์เนล แล้วฟูโก(Michel Foucault)ได้มาสอนที่นี่ รวมถึง Hubert Damisch(นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส) แล้วเราได้เป็นเพื่อนกับ  Hubert และ Teri และเราเคยไปปิกนิคกับฟูโกด้วยครั้งหนึ่ง ตอนผมอยู่ที่ IAUS [Institute Architecture and Urban Studies]

Rem กับ Wallace Harrison ขณะจัดงานนิทรรศการที่ IAUS

สถานที่ไหนที่คุณเริ่มต้นเขียนหนังสือขึ้นมา เริ่มต้นจากสถาบันที่คุณศึกษาหรือเปล่า?
Rem : ไม่ใช่ครับ ผมเริ่มเขียนตอนอยู่ที่ลอนดอน ส่วนที่อเมริกาผมไม่ได้เขียน แต่ช่วงที่ผมกลับมาสอนหนังสือที่เอเอ ผมจะมีการสอนเลกเชอร์ทุกสัปดาห์ นั่นทำให้ผมสามารถเขียนหนังสือได้

นั่นคุณก็หมายความว่า คุณใช้เวลาเขียนหนังสือเป็นเวลา5ปี คือระหว่่างปี1972-1977 ช่วงนั้นคุณได้ศึกษาอะไรบ้าง คุณคงไม่ได้เขียนมันตลอดทั้ง 5 ปีหรอกนะ
Rem : ไม่ครับ ตอนนั้นผมคิดบทความได้หนึ่งบทความที่เกิดขึ้นในปี 1930 เกี่ยวกับ Beaux Arts Costume Ball และ the basin girl [เหล่าสถาปนิกที่แต่งตัวเป็นสถาปัตยกรรม อาคารสูง] มันถูกตีพิมพ์ในหนังสือ oppositions

Beaux Arts Costume Ball
and Basin girl ในปี 1930
Beaux Arts Costume Ball and Basin girl ในปี 1930

แต่ส่วนใหญ่คุณจะสะสมภาพถ่าย
Rem: ผมไม่รู้ว่าทำไม แต่ผมไม่สามารถบังคับตัวผมเองได้

ที่คุณบอกว่าเขียนหนังสือตอนอยู่ที่ลอนดอน คุณเขียนที่ไหนในลอนดอน ?
Rem : ผมเขียนที่บ้าน คือเรามีบ้านที่ใหญ่มาก มีห้องพักถึงหกห้อง

คุณเลยให้เวลากับงานเขียนส่วนใหญ่ในห้องของคุณ?
Rem : ใช่ครับ จริงๆมันสำคัญมากนะ  ที่มหาลัยผมจะรู้กดดัน เอ่อ ความเป็นส่วนตัวและกิจกรรม แต่ในหัวของผม ผมรู้สึกอยากจะพัฒนาอะไรๆตลอดเวลา อย่างแรกผมอยากจะศึกษาเรื่องราวของ Le Corbusier และ Dali (จิตรกร) อย่างเต็มที่ คุณคิดอะไรไม่ออกหรอกครับถ้าอยากจะค้นพบอะไรใหม่ๆ ฉะนั้นผมเลยสร้างมิตรโดยทำคามรู้จักกับ Wallace Harrison (สถาปนิกชาวอเมริกัน) และไปช่วยจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเขา อีกอย่างผมเคยไปเยี่ยมสถาปนิกที่เกษียณแล้ว ที่ชาดหาดแมสซาชูเซตเพื่อเก็บข้อมูลของ Rockefeller Center

Rockefeller Center
Cony Island

คุณพูดถึงรูปภาพอยู่บ่อยๆ คุณไปได้ข้อมูลจากไหน จากห้องสมุดหรือ
Rem: ใช่ครับ ผมไปที่ห้องสมุดนิวยอร์ก(the New York Library) เพื่อไปตรวจดูข้อมูลจากไมโครฟิล์ม และข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด อันนี้เป็นไมโครฟิล์มจากห้องสมุดนิวยอร์ก

คุณเลยนำข้อมูลที่ได้จากฟิล์มใช่ไหม
Rem: ไม่ครับ ข้อมูลที่เกี่ยวกับ Coney Island ทั้งหมดมาจากหนังสือพิมพ์และไมโครฟิล์มบางส่วน ผมคิดว่ามันเป็นภาพที่น่าทึ่ง ส่วนนี้มาจากโปสการ์ดทั้งหมด(ชี้ไปหน้าหนังสือ)

คุณได้สัมภาษณ์บุคคลที่มีชื่อเสียงซึ่งมีอยู่หลายคน คุณได้สัมภาษณ์ใครบ้าง?
Rem: Dali, Warhol, Philip Johnson, Kilham, Harrison, Bunschaft…..

มีหลายอย่างเลยที่คุณมีวิธีการทำงานเหมือนนักหนังสือพิมพ์
Rem: ใช่ครับ นั่นเพราะผมเคยเป็นนักหนังสือพิมพ์มาก่อน แต่การทำหนังสือของผมตอนนี้ต่างกับตอนเป็นนักสือพิมพ์คือ มีเวลาในการเขียนมากขึ้น ไม่มีเดดไลน์หรือใกล้ส่งงานแล้ว

รูปแบบของหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยข้อมูลเอกสาร
Rem: มันเป็นเอกสารจริงๆนั่นแหละครับ มันดูขัดๆบ้างกับงานเขียนหนังสือ

แล้ววิธีการเขียนหนังสือกับงานสถาปัตยกรรม คุณคิดว่ามันมีความขัดแย้งกันอย่างไรบ้าง ฉันไปเจอประโยคหนึ่งที่คุณได้พูดไว้ในปี 1972 ว่า “The City of the Captive Globe”และคุณยังพูดอีกว่า การหยั่งรู้งานสถาปัตยกรรมของแมนฮัตตันเกิดขึ้นก่อน จึงเกิดหนังสือ  Delirious New York ขึ้นมา แล้วอะไรคือความเกี่ยวเนื่องระหว่างการเขียนหนังสือและงานสถาปัตยกรรม คุณเริ่มต้นจากอะไร
Rem : เทคนิคการเขียนของผม คือ อย่างแรกงานเขียนสถาปัตยกรรมต้องมีความน่าเชื่อถือและเป็นเรื่องที่ผมอยากทำ และบรรยายถึงการพัฒนางานสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เป็นงานที่หนักอยู่เหมือนกัน บางทีเราต้องคอยรับมือกับปัญหา อย่างเช่น เมืองจีน คุณสามารถรู้สึกได้เลยว่ารูปแบบของเมืองเป็น Junk Space (เป็น spaceที่มีความหลากหลาย) หรือ Generic City ซึ่งเราต้องกลั่นกรองวิเคราะห์ เพื่อไม่ให้คนเกิดความสับสน

The City of the Captive Globe, 1976

การเขียนให้อะไรกับคุณ
Rem : การเขียนมีความสำคัญอย่างมาก มันสามารถสร้างกำไรมากมาย คุณสามารถสร้างมันได้ด้วยตัวของคุณเอง การเขียนยังสามารถทำให้เรามีอีโก้ไม่มากก็น้อย

อะไรคือจุดเริ่มต้นในการทำงานเขียนของคุณ
Rem : จุดเริ่มต้น คือตอนที่ผมเริ่มเขียนนวนิยายเมื่ออายุ 16 เรื่อง Johann in Disneyland ผมอ้างอิงเรื่องราวจากหนังสือ National Geographic จากหนังสือของ Disneyland ที่พูดถึงทิงเกอร์เบลล์ และนักปืนเขาชาวเยอรมันที่ปืนเขาทุกวันที่ยอดเขามัทเทอร์ฮอร์น (Matterhorn) นิยายเรื่องนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเผชิญหน้ากันของคน 2 คน

คุณเคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ก่อนที่จะมาเป็นสถาปนิก คุณเคยเรียนทางด้านนี้มากก่อนหรือเปล่า
Rem : เปล่าครับ

คุณจบจากไฮสคูลแล้วมาทำด้านงานเขียนที่ไหน
Rem : ผมไปทำหนังสือรายสัปดาห์ ที่ De Haagse Post

ตอนนั้นคุณเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับอะไร
Rem : ผมเขียนหลายอย่าง อย่างเช่น ศิลปะ กีฬา สังคม การเมือง อีกอย่างผมเคยสัมภาษณ์สถาปนิก ผู้กำกับภาพยนต์ ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ fellini (ผู้กำกับชาวอิตาลี) เป็นภาพยนต์ที่ผมสนใจ

สถาปนิกคนไหนที่คุณอยากไปสัมภาษณ์มากที่สุด?
Rem : ผมอยากสัมภาษณ์ Le Corbusier แต่สัมภาษณ์แบบสั้นๆนะ

คุณจะสัมภาษณ์ Le Corbusier เนื่องในโอกาสอะไร
Rem: ผมจะสัมภาษณ์เขาตอนที่เขาได้รับรางวัลที่ฮอลแลนด์ แต่เขาดูเป็นคนนิ่งๆเข้าถึงยาก

Anton Koolhaas
Rem Koolhaas สมัยที่กำกับภาพยนต์กับเพื่อน

พ่อของคุณ Anton Koolhaas เป็นนักหนังสือพิมพ์ใช่ไหม?
Rem : ใช่ครับ พ่อเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ต่อมากลายมาเป็นนักเขียน

เป็นนักเขียนแบบไหน?
Rem : ท่านเป็นบรรณาธิการของ A leftist weekly,De Groene, เริ่มเป็นนักเขียนตอนอายุ 40 ตอนอยู่ที่อินโดนีเซีย งานเขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ปรัชญา ท่านเขียนหนังสือประมาณ20เล่มเห็นจะได้ เขียนเกี่ยวกับมนุษย์ แล้วต่อมาท่านก็เป็นผู้อำนวยการของ the Dutch film academy ซึ่งเพื่อนผมเรียนที่นั่นแต่ผมไม่ได้เรียนที่นั่นเพราะผมคิดว่าพ่อมีรสนิยมแปลกๆเกี่ยวกับภาพยนต์

แต่เพื่อนๆของคุณก็ไปเรียนที่นั่น
Rem: ใช่ครับ

คุณเคยลองพิจารณารูปแบบการเขียนเหมือนไดอารี่ดูบ้างไหม?
Rem: บางครั้ง

มีช่วงไหนในชีวิตของคุณที่ไม่ได้เขียนหนังสือเลย
Rem: ไม่มีเลยครับ อันที่จริงไม่มีเลยที่หยุดเขียนหนังสือ

อ่านต่อตอนที่ 2 เกี่ยวกับหนังสือ SMLXL

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here